April 19, 2024   1:09:04 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > เกี่ยวกับเหล็ก MCS
 

U
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 271
วันที่: 02/09/2005 @ 08:41:26
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ข้อมูลสำหรับคุณ.........
ผมคิดว่าสำหรับคนที่ไม่เคยได้อ่านด้วย หรือไม่เคยซื้อขาย อ่านประกอบการตัดสินใจ เพื่อส่วนรวม .0008

- สรุปข้อสนเทศ -
บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด (มหาชน) (MCS)

ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ตั้งโรงงาน :
70 หมู่ 2 ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13290 โทรศัพท์ 0-3528?3191-4
โทรสาร 0-3528-3314, 0-3528-3199 โฮมเพจบริษัท: www.mcssteel.com

เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 15 กรกฎาคม 2548)

ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญ 500,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 500,000,000 บาท

ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

ราคาเสนอขาย 2.40 บาทต่อหุ้น

วันที่เสนอขาย ตั้งแต่เวลา 9:00 น. ถึง 16:00 น. ของวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2548

วัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุน
บริษัทมีวัตถุประสงค์ในการนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งนี้จำนวนประมาณ 229.65 ล้านบาท ซึ่ง
เป็นจำนวนเงินที่ได้หลังจากหักค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้แล้ว เพื่อนำไปใช้ดังนี้
วัตถุประสงค์, จำนวนเงินประมาณ, ระยะเวลาที่ใช้เงินประมาณ :
1. ขยายกำลังการผลิต, 70 ล้านบาท, ภายในปี 2548
2. ลงทุนก่อตั้งศูนย์บริการในประเทศญี่ปุ่น, 10-20 ล้านบาท, ภายในไตรมาส 1 ปี 2549
3. ลงทุนธุรกิจผลิตโครงสร้างเหล็กในประเทศจีน, 40 ล้านบาท, ภายในไตรมาส 1 ปี 2549
4. ก่อสร้างท่าเทียบเรือขนถ่ายสินค้า, 15 ล้านบาท, ภายในไตรมาส 1 ปี 2549
5. ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน, 85 ล้านบาท

การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน
จำนวน 15 ล้านหุ้น โดยยืมจาก ดร.ไนยวน ชิ โดยมี บริษัท หลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
เป็นผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน และจะจัดหาหุ้นคืนภายใน 27 วันนับแต่วันที่เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ วิธีการจัดหา
หุ้นส่วนเกินเพื่อส่งคืนจะเป็นดังต่อไปนี้
1. ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ/หรือ
2. ใช้สิทธิซื้อหุ้นจากนายชิ ชิง โป

ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินธุรกิจ
ภาพรวมการประกอบธุรกิจ
บริษัทมีการประกอบธุรกิจโดยแบ่งเป็น 2 สายธุรกิจ ได้แก่ สายธุรกิจเหล็กและสายธุรกิจการเกษตร โดยมีโรงงาน
ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สายธุรกิจเหล็ก เป็นธุรกิจหลักของบริษัท โดยบริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ (Structure
Steel Fabrication) สำหรับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยโครงสร้างเหล็กที่บริษัทผลิต
มี 2 ประเภท คือ โครงสร้างเหล็กที่นำมาใช้เป็นเสา (Column-Box) และโครงสร้างเหล็กที่นำมาใช้เป็นคาน (Beam)
ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร โดยปัจจุบันมีกำลังการผลิตสูงสุดประมาณ 40,000 ตันต่อปี
ขบวนการผลิตโครงสร้างเหล็กจะเริ่มตั้งแต่ การนำแผ่นเหล็กรีดร้อนคุณภาพสูงมาตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ จากนั้น
นำแผ่นเหล็กมาประกอบเข้าด้วยกันด้วยการเชื่อมเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น เสา หรือ คาน โดยใช้ลวดเชื่อมเป็นวัสดุในการ
เชื่อมต่อ จากนั้นนำชิ้นส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น เหล็กลวด ท่อเหล็ก แผ่นเหล็ก ตามแบบมาเชื่อมต่อให้ครบ
ขั้นสุดท้ายปรับแต่งให้งานได้ตามคุณภาพที่ต้องการ
บริษัทมีการจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าโดยตรง ไปยังกลุ่มลูกค้าผู้รับเหมาขนาดใหญ่และลูกค้าที่มีโครงการก่อสร้าง
ทั่วไป โดยบริษัทมีการจัดจำหน่ายโดยตรงให้กับลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นถึงประมาณร้อยละ 90 ของปริมาณการ
จำหน่ายรวม โดยทั่วไปบริษัทจะได้รับรายการสั่งซื้อจากลูกค้าอย่างน้อย 6 เดือน ถึง 1 ปีล่วงหน้า ทำให้บริษัทไม่มี
ปัญหาเรื่องการผลิตและจำหน่าย นอกจากนี้ สินค้าของบริษัทมีคุณภาพได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในประเทศญี่ปุ่น
และบริษัทได้รักษาคุณภาพชิ้นงานที่ผลิตให้ได้ตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ บริษัทมีการผลิตโครงสร้างเหล็กทั่วไป เช่น โครงสร้างหลังคา เสาหรือคานที่ใช้ในการก่อสร้างใน
ประเทศซึ่งมีกระบวนการผลิตเช่นเดียวกับการผลิตโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่

สายธุรกิจเกษตร เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่บริษัทได้เริ่มลงทุนตั้งแต่ปี 2546 โดยปัจจุบันอยู่ในช่วงทำการวิจัยและ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากบริษัทเล็งเห็นถึงแนวโน้มและโอกาสที่ดีของตลาดปุ๋ยอินทรีย์ในอนาคต จาก
การที่ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการบำรุงรักษาดิน ตลอดจนการสนับสนุนการทำการ
เกษตรแบบยั่งยืนของรัฐบาลไทย โดยบริษัทมองว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งมีทรัพยากรสำหรับการ
ทำการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อยู่แล้วไม่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และบริษัทต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการ
ช่วยเหลือสังคมในการรักษาดินและสิ่งแวดล้อมซึ่งถูกทำลายจากการใช้เคมีภัณฑ์ในการทำเกษตรกรรม นอกจากนั้น
ยังเป็นการกระจายความเสี่ยงในการพึ่งพิงธุรกิจโครงสร้างเหล็กเพียงอย่างเดียว โดยในปัจจุบันบริษัทได้ทำการวิจัย
และพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้สูตรการผลิตที่มีประสิทธิภาพและตรงกับความ
ต้องการของลูกค้า โดยในช่วงปลายปี 2547 บริษัทได้ทดลองผลิตและให้เกษตรกรทดลองใช้ และในปี 2548 บริษัท
จะเริ่มผลิตและทดลองจำหน่ายให้กับกลุ่มเกษตรกรภายในประเทศ โดยคาดว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์
ภายในปี 2549 เป็นต้นไป

โครงสร้างรายได้
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ 2545 2546 2547
จำนวนเงิน ร้อยละ จำนวนเงิน ร้อยละ จำนวนเงิน ร้อยละ
1.รายได้จากการขายโครงสร้างเหล็ก
1.1 งานในประเทศ 6 0.84 15 1.48 64 4.12
1.2 งานต่างประเทศ 736 97.74 997 96.45 1,442 93.17
2. รายได้จากการขายเศษเหล็ก 2 0.26 2 0.22 10 0.62
3. รายได้อื่นๆ 2 0.31 19 1.85 6 0.36
4. กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 6 0.85 0 * 0 27 1.73
รายได้รวม 753 100.00 1,033 100.00 1,547 100.00
* ปี 2546 บริษัทขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 4.07 ล้านบาท ซึ่งตามงบการเงินได้รวมอยู่ในรายการค่าใช้จ่าย
ของบริษัท

กำลังการผลิตและการใช้กำลังการผลิต ปี 2545-2547 สรุปได้ดังนี้
หน่วย : ตันต่อปี 2545 2546 2547
กำลังการผลิตเต็มที่ 30,000 40,000 40,000
การใช้กำลังการผลิต 19,540 30,012 34,910
ร้อยละของการใช้กำลังการผลิต 65 75 87

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีจุดเด่นทางด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ของบริษัทสามารถผลิตได้สูงกว่า
มาตรฐาน JASS 6 (Japanese Architectural Standard Specification) และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดตามกฎหมายของ
ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน H class fabricator จาก Japan Steel Structure Appraisal
Center Ltd. ที่ออกให้กับโรงงานผลิตโครงสร้างเหล็กที่ได้มาตรฐานดีเยี่ยมและสามารถส่งผลิตภัณฑ์ไปประเทศญี่ปุ่นได้
และได้รับใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับการขึ้นรูปตัว H และบริษัทได้รับรองมาตรฐาน
คุณภาพ ISO9001:2000 ระบบบริหารคุณภาพ

ลักษณะลูกค้าของบริษัทจำแนกได้ดังนี้
1. ลูกค้าต่างประเทศ ได้แก่ บริษัทรับเหมาก่อสร้างทั่วไปขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักและมี
โครงการก่อสร้างและปริมาณความต้องการใช้โครงสร้างเหล็กจำนวนมาก โดยในปี 2547 บริษัทมีสัดส่วนการจำหน่าย
ให้แก่ลูกค้าต่างประเทศ คิดเป็นประมาณร้อยละ 96 ของยอดขายรวม โดยกว่าร้อยละ 90 ของยอดขายรวมมาจากลูกค้า
รายใหญ่ 1 ราย คือ บริษัท คาจิมา คอร์ปเปอเรชั่น ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่รายหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท
มีความสัมพันธ์ที่ดีและทำการค้ากับลูกค้ารายดังกล่าวมานานเป็นระยะเวลากว่า 4 ปี และที่ผ่านมายอดการจำหน่ายให้แก่
บริษัท คาจิมา คอร์ปเปอเรชั่น มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เนื่องจากความเชื่อมั่นในสินค้าและบริการตลอดจน
การจัดส่งที่เป็นไปตามกำหนดและตรงตามความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ปริมาณโครงสร้างเหล็กที่ บริษัท คาจิมา
คอร์ปเปอเรชั่น ซื้อจากบริษัทมีสัดส่วนที่น้อยไม่ถึงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการทั้งหมดในแต่ละปี
2. ลูกค้าในประเทศ กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทญี่ปุ่นเป็นหลักเช่นกัน บริษัทจะรับจ้าง
ทำโครงสร้างเหล็กตามความต้องการของลูกค้า เนื่องจากลูกค้าในประเทศไม่มีความจำเป็นที่จะใช้เหล็กประเภทพิเศษที่
ใช้กับประเทศที่มีแผ่นดินไหว เหล็กที่ใช้จึงเป็นเหล็กธรรมดาทั่วไป ลูกค้าเป้าหมายจะเป็นโรงงาน อาคารก่อสร้าง โดย
ในปี 2547 บริษัทมีสัดส่วนการจำหน่ายให้แก่ลูกค้าในประเทศ คิดเป็นประมาณร้อยละ 4 ของยอดขายรวม
บริษัทมีโอกาสที่จะขยายตลาดใหม่ในประเทศจีนซึ่งทางบริษัทรับเหมาก่อสร้างทั่วไปขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น
ได้เข้าไปแข่งขันแล้ว และโอกาสที่บริษัทจะจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้รับเหมาดังกล่าวนั้นมีมากเนื่องจากได้รับความเชื่อถือ
และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทางผู้รับเหมาเหล่านั้นอยู่แล้ว

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ไม่มี ทั้งนี้บริษัทได้ให้ความสำคัญในการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยจัดให้มีระบบการบำบัดน้ำเสียและกำจัด
ขยะภายในโรงงานถูกต้องตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้บริษัทได้รับการตรวจสอบโรงงานอย่าง
สม่ำเสมอทุกปีภายใต้การควบคุมดูแลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งผลการตรวจสอบตามหนังสือรับรองจาก
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาออกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2548 สรุปได้ว่า สภาพโรงงานและสภาพ
แวดล้อมต่างๆในบริเวณโรงงานอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆต่อสภาพแวดล้อม

สรุปสาระสำคัญของสัญญา
สัญญาที่บริษัททำกับลูกค้าจะเป็นสัญญามาตรฐานของบริษัท โดยระบุชื้อผู้ซื้อ ผู้ขาย มูลค่าของผลิตภัณฑ์ การ
ตรวจสอบ การทดสอบ ระยะเวลาการส่งมอบ และบทปรับในกรณีที่ส่งงานล่าช้า เป็นต้น สำหรับการสั่งซื้อวัตถุดิบ
บริษัทจะจัดทำใบสั่งซื้อ โดยเงื่อนไขในใบสั่งซื้อ ได้แก่ รายการสินค้า ราคาที่ตกลง ระยะเวลา ปริมาณ สถานที่จัดส่ง
เป็นต้น

บริษัทมีสัญญาการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้
- โครงการท่าอากาศยานนานาชาติ กรุงเทพมหานคร 2 (สนามบินสุวรรณภูมิ)
1) Steel Work Fabrication Sub-contract Terms & Conditions
คู่สัญญา : บริษัท ร่วมทุนคาม่า จำกัด (Kama Joint Venture Co., Ltd.)
มูลค่าตามสัญญา : 49,260,980 บาท
วันที่สัญญามีผล : กันยายน 2547
รายละเอียด : บริษัท ร่วมทุนคาม่า จำกัด ได้ว่าจ้างบริษัทให้ทำการผลิตงานโครงสร้างเหล็กเพื่อใช้ในโครงการ
สนามบินสุวรรณภูมิ โดยบริษัท ร่วมทุนคาม่า จำกัด จะเป็นผู้ตรวจสอบเพื่อรับรองความสมบูรณ์การดำเนินการของ
บริษัท เมื่อมีการส่งมอบงานครั้งสุดท้าย (บริษัทได้ส่งมอบผลงานสมบูรณ์แล้วในปี 2547)
ความสัมพันธ์กับบริษัท : - ไม่มี ?

2) สัญญาค้ำประกัน บริษัทร่วมทุน คาม่า จำกัด (Kama Joint Venture Co., Ltd.)
คู่สัญญา : ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
วงเงินค้ำประกัน : 2,463,049 บาท
วันที่สัญญามีผล : 24 ธันวาคม 2547 ? 30 กันยายน 2550
รายละเอียด : เป็นการประกันผลงานตามสัญญารับจ้างงานก่อสร้างของบริษัท เพื่อการดำเนินงานตามโครงการ
ท่าอากาศยานนานาชาติ กรุงเทพมหานคร 2 (สนามบินสุวรรณภูมิ) (รายละเอียดโครงการตามสัญญาข้อ 1) ข้างต้น)

- โครงการปุ๋ยอินทรีย์
1) สัญญารับทุนโครงการเกษตรอินทรีย์โดยใช้โบกาชิ
คู่สัญญา : นายเกรียงศักดิ์ แก้วสมประสงค์ (อาจารย์จากสถาบันวาจกกสิกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
วันที่สัญญามีผล : 1 พฤศจิกายน 2547 ? 31 ตุลาคม 2549
รายละเอียด : โครงการวิจัยเกี่ยวกับโบกาชิ โดยแบ่งระยะเวลาดำเนินการเป็น 3 โครงการย่อย คือ
1. การวิจัยผลของโบกาชิต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของผลผลิตข้าวโพดหวานเกษตรอินทรีย์เพื่อการ
ส่งออกต่างประเทศ ระยะเวลาทำการวิจัย ตุลาคม 2547 ? กันยายน 2549
2. โครงการส่งเสริมการตลาดโบกาชิ MCS ระยะเวลาทำการวิจัย มกราคม ? ธันวาคม 2548
3. โครงการผลิตข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ ระยะเวลาทำการวิจัย ปี 2547 ? 2550

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ - ไม่มี -

การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ
ปัจจุบันบริษัทไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีการผลิตโครงสร้างเหล็กจากภายนอกแต่อย่างใด สำหรับ
ผลิตภัณฑ์เกษตรที่เพิ่งเริ่มต้นนั้น บริษัทได้ร่วมมือกับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อทำการทดลองและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ โบกาชิ (Bokashi) ซึ่งมี
คุณสมบัติในการเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดิน และเพิ่มสารอาหารให้พืช โดยไม่ทำลาย
สิ่งแวดล้อม

โครงการดำเนินงานในอนาคต
1. บริษัทมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิต จากปริมาณการผลิตประมาณ 40,000 ตันต่อปีเป็น 50,000 ตันต่อปี
โดยลงทุนในการก่อสร้างอาคารโรงงานหลังใหม่ พื้นที่ 6,300 ตร.ม. และซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติมสำหรับการผลิต
ใช้เงินลงทุนประมาณ 70 ล้านบาท โดยใช้เงินจากการขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ประชาชนในครั้งนี้ และคาดว่า
จะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2548 และจะเริ่มทำการผลิตได้ในปี 2549
2. บริษัทมีโครงการก่อตั้งศูนย์บริการ (Service Center) ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อติดต่อประสานงานกับลูกค้า
ในประเทศญี่ปุ่น และแก้ไขซ่อมแซมชิ้นงานในปประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
และเหมาะสม ด้วยงบลงทุนประมาณ 10 ? 20 ล้านบาท โดยใช้เงินจากการขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ประชาชนในครั้งนี้
โดยปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมในการลงทุนระหว่างการร่วมทุนกับบริษัทใน
ประเทศญี่ปุ่น หรือการลงทุนโดยบริษัทเอง และคาดว่าจะใช้เงินภายไตรมาสที่ 1 ปี 2549
3. บริษัทมีแผนที่จะร่วมทุนกับบริษัทผู้ผลิตโครงสร้างเหล็กในประเทศจีน เพื่อขยายตลาดไปยังประเทศจีน และ
เพื่อเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบเหล็กในประเทศจีน นอกจากนั้นเพื่อได้เรียนรู้เทคโนโลยีในการผลิตเหล็กโครงสร้างเบา โดย
มีสัดส่วนการลงทุนไม่เกินร้อยละ 10 และใช้เงินลงทุนประมาณ 40 ล้านบาท โดยใช้เงินจากการขายหุ้นเพิ่มทุนแก่
ประชาชนในครั้งนี้ และคาดว่าจะใช้เงินภายไตรมาสที่ 1 ปี 2549
4. บริษัทมีโครงการก่อสร้างท่าเรือที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ห่างจากโรงงานประมาณ 3 กม.
เพื่อใช้ในการขนถ่ายชิ้นงานที่ผลิตเสร็จไปยังท่าเรือคลองเตยโดยตรง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้า
ประหยัดเวลา ขนส่งได้คราวละมากๆ ควบคุมง่ายและชิ้นงานไม่ได้รับความเสียหาย และบริษัทสามารถลดต้นทุน
ค่าขนส่งได้ประมาณ 90 บาทต่อตัน ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 1 ? 2 ของต้นทุนค่าขนส่ง ทั้งนี้บริษัทจะร่วมทุน
กับเจ้าของท่าเทียบเรือแห่งหนึ่งที่อำเภอบางไทร โดยบริษัทลงทุนในการก่อสร้าง/ขยาย/ปรับปรุงท่าเรือและติดตั้ง
เครนให้ และคาดว่าจะสามารถเริ่มโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือในปี 2548 และใช้เงินลงทุนประมาณ 15 ล้านบาท
โดยใช้เงินจากการขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ประชาชนในครั้งนี้ และคาดว่าจะใช้เงินภายไตรมาสที่ 1 ปี 2549
5.บริษัทมีโครงการผลิตและจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่บริษัททางหนึ่งในอนาคต โดยบริษัท
ได้มีการลงทุนไปแล้วประมาณ 20 ล้านบาทตั้งแต่ปี 2546 และได้เริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และ
ทดลองขายผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งปัจจุบันบริษัทอยู่ในระหว่างการทำวิจัยและพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ร่วมกับคณาจารย์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โครงการ
ดังกล่าวคาดว่าจะใช้เงินลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปีละประมาณ 2-2.5 ล้านบาท และใช้เงินทุนหมุนเวียน
ปีละประมาณ 11-12 ล้านบาทในระหว่างปี 2548-2549 แหล่งเงินทุนของโครงการมาจากเงินหมุนเวียนของบริษัท
ทั้งนี้บริษัทคาดว่าจะเริ่มทดลองผลิตและจำหน่ายได้ในปี 2548 ประมาณ 1,000 ตัน โดยเป็นการขายภายใน
ประเทศทั้งหมด และในปี 2549 บริษัทจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 3,500 ตัน โดยขายภายในประเทศประมาณ
3,000 ตัน และทดลองขายต่างประเทศประมาณ 500 ตัน หลังจากนั้นบริษัทจะพิจารณาทบทวนผลการดำเนิน
การอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ทั้งนี้หากบริษัทไม่ดำเนินการโครงการนี้ต่อไป บริษัทจะมีค่าใช้จ่าย
โครงการรวมประมาณ 30 - 33 ล้านบาท (ประมาณการค่าใช้จ่ายรวมปี 2546 ? 2549) และอาคารที่ใช้
ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จะนำมาใช้เป็นอาคารโรงงานผลิตโครงสร้างเหล็กต่อไป


รายการระหว่างกัน
สรุปรายการระหว่างกันของบริษัทกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งในปี 2546 และ ปี 2547
การค้ำประกันวงเงินกู้ของบริษัท
1. ดร.ไนยวน ชิ
ความสัมพันธ์ : ประธานกรรมการบริษัท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยกลุ่มดร.ไนยวน ชิ
ถือหุ้นในบริษัทร้อยละ 94
2. นายสมพงษ์ เมธาสถิตย์สุข
ความสัมพันธ์ : กรรมการบริษัท กรรมการผู้อำนวยการและผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยกลุ่มนายสมพงษ์ เมธาสถิตย์สุข
ถือหุ้นในบริษัทร้อยละ 5.51
(1) ลักษณะของรายการ : ค้ำประกันวงเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร
วงเงิน : 5 ล้านบาท (ปี 2546 ปี 2547 และไตรมาส 1 ปี 2548)
ยอดคงเหลือ : 6.41 ล้านบาท (ปี 2546) 2.27 ล้านบาท (ปี 2547) และ 1.33 ล้านบาท (ไตรมาส 1 ปี 2548)
(2) ลักษณะของรายการ : การค้ำประกันเงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง
วงเงิน : 50 ล้านบาท (ปี 2546 ปี 2547 และไตรมาส 1 ปี 2548)
ยอดคงเหลือ : 35 ล้านบาท (ปี 2546) 20 ล้านบาท (ปี 2547) และ 20 ล้านบาท (ไตรมาส 1 ปี 2548)
(3) ลักษณะของรายการ : การค้ำประกันเงินกู้ระยะสั้นจากสถาบันการเงินต่างประเทศแห่งหนึ่ง
ยอดคงเหลือ : 173.80 ล้านบาท (ปี 2546) และ 0 บาท (ปี 2547 และไตรมาส 1 ปี 2548)
(4) ลักษณะของรายการ : การค้ำประกันวงเงินทรัสต์รีซีทส์และเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง
วงเงิน : 350* ล้านบาท (ปี 2546) และ 600* ล้านบาท (ปี 2547 และไตรมาส 1 ปี 2548)
ยอดคงเหลือ : - ไม่มี ?
หมายเหตุ * ดร.ไนยวน ชิ ค้ำประกันวงเงิน 350 ล้านบาท ในปี 2546 และ 600 ล้านบาท ในปี 2547 และ
ไตรมาส 1 ปี 2548 และคุณสมพงษ์ เมธาสถิตย์สุข ค้ำประกันวงเงิน 60 ล้านบาท ในปี 2546 ปี 2547 และไตรมาส 1 ปี 2548
(5) ลักษณะของรายการ : การค้ำประกันการขอวงเงินสำหรับหนังสือค้ำประกันที่สถาบันการเงินออกให้บริษัท
วงเงิน : 20 ล้านบาท (ปี 2546 ปี 2547 และไตรมาส 1 ปี 2548)
ยอดคงเหลือ : 12.36 ล้านบาท (ปี 2546) 19.75 ล้านบาท (ปี 2547) และ 14.82 ล้านบาท (ไตรมาส 1 ปี 2548)

ความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน
การค้ำประกัน
รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล เป็นไปตามความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ตลอด
จนเพื่อใช้ในการขยายงานและเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้ รายการระหว่างกันดังกล่าวเป็นประโยชน์กับบริษัท และ
บริษัทไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนใดๆแก่บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน

มาตรการหรือขั้นตอนการอนุมัติการทำรายการระหว่างกัน
รายการระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มีส่วนได้เสียหรืออาจมี
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในอนาคต บริษัทจะให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นและ
ความเหมาะสมของรายการนั้น ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความชำนาญในการพิจารณารายการระหว่างกันที่
อาจเกิดขึ้น บริษัทจะได้ให้ผู้เชี่ยวชาญอิสระหรือผู้สอบบัญชีของบริษัทเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันดังกล่าว
เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการ หรือผู้ถือหุ้นตามแต่กรณี ทั้งนี้ บริษัทจะเปิดเผยรายการระหว่างกันไว้
ในหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีบริษัท

ภาระผูกพัน
ณ 31 มีนาคม 2548 บริษัทมีภาระผูกพันตามสัญญารับจ้างผลิตที่มีการจัดทำสัญญาแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งมอบจำนวน
4 สัญญา
โครงการ คู่สัญญา มูลค่ารวม (ล้านเยน) % งานยังไม่ส่งมอบ กำหนดส่งมอบ
1.Tora 4 project คาจิมา คอร์ปเปอเรชั่น 990 68% ก.ค. 48
2.TA-Biru project คาจิมา คอร์ปเปอเรชั่น 564 81% ส.ค.48
3.Yaesu north 1 project คาจิมา คอร์ปเปอเรชั่น 84 * 100% ก.ค.48
4.Kudakita project คาจิมา คอร์ปเปอเรชั่น 82 ** 100% เม.ย.48
* Yaesu north 1 project เพิ่มจาก 73 ล้านเยน ณ สิ้นปี 2547 เป็น 84 ล้านเยน
** Kudakita project จำนวน 82 ล้านเยน เป็นจำนวนใหม่ที่ได้รับในไตรมาสแรกของปี 2548

ปัจจัยเสี่ยง
1. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่
ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้ารายใหญ่ 1 ราย คือ บริษัท คาจิมา คอร์ปเปอเรชั่น (Kajima Corporation) ซึ่งเป็นผู้รับเหมา
ก่อสร้างขนาดใหญ่รายหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น โดยรายได้กว่าร้อยละ 90 ของรายได้รวมของบริษัทในช่วงปี 2545 - 2547
มาจากการขายให้กับลูกค้ารายดังกล่าว ดังนั้นหากบริษัทสูญเสียลูกค้ารายดังกล่าวอาจส่งผลกระทบถึงรายได้ของบริษัท
อย่างไรก็ตาม บริษัทเชื่อมั่นว่าโอกาสสูญเสียลูกค้ารายดังกล่าวมีน้อยมาก เนื่องจากบริษัท คาจิมา คอร์ปเปอเรชั่น
(Kajima Corporation) เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่และมีความต้องการใช้โครงสร้างเหล็กที่มีมาตรฐาน
จำนวนมากถึงประมาณ 500,000 ตันต่อปี เมื่อเทียบกับจำนวนกำลังการผลิตที่ส่งให้ บริษัท คาจิมา คอร์ปเปอเรชั่นของ
บริษัทในปัจจุบันประมาณที่ 31,500 ตันต่อปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6 ของความต้องการของบริษัท คาจิมา คอร์ปเปอเรชั่น
(Kajima Corporation) เท่านั้น นอกจากนี้ บริษัทมีความสัมพันธ์อันดีและทำการค้าขายกับลูกค้ารายดังกล่าวมาเป็น
ระยะเวลากว่า 4-5 ปี อีกทั้งการดำเนินธุรกิจก็เป็นในแบบการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความไว้วางใจในการ
ทำงาน ซึ่งเป็นลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัทข้ามชาติจากประเทศญี่ปุ่น และที่ผ่านมายอดการจำหน่ายให้แก่
บริษัท คาจิมา คอร์ปเปอเรชั่น (Kajima Corporation) มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด นอกจากนั้น ได้มีบริษัท
ญี่ปุ่นหลายราย เช่น บริษัท ทาเกนากา คอร์ปเปอเรชั่น (Takenaka Corporation) บริษัท ชิมิสุ (Shimizu) ซึ่งเป็นผู้รับเหมา
อันดับใหญ่ระดับเดียวกับ บริษัท คาจิมา คอร์ปเปอเรชั่น (Kajima Corporation) เข้ามาติดต่อว่าจ้างให้บริษัทผลิต
โครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ให้ แต่บริษัทไม่มีกำลังการผลิตเพียงพอในการรองรับความต้องการเหล่านี้ได้หมด อย่างไร
ก็ตาม บริษัทมีนโยบายขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และบริษัทได้มีความพยายาม
ในการลดการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่รายดังกล่าวด้วยการขยายตลาดโดยเจรจากับผู้รับเหมาก่อสร้างรายอื่นของญี่ปุ่น
อีกทั้งบริษัทได้เริ่มขยายตลาดเพิ่มเติมในประเทศญี่ปุ่น และขยายตลาดไปสู่ประเทศจีนและประเทศที่มีความเสี่ยง
ต่อการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อเป็นการเพิ่มตลาดที่นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่น
2. ความเสี่ยงจากการจัดหาวัตถุดิบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตโครงสร้างเหล็กของบริษัทคือเหล็กแผ่นรีดร้อนเกรดพิเศษ (Special hot rolled steel)
ซึ่งบริษัทสั่งซื้อเหล็กแผ่นรีดร้อนเกรดพิเศษจากบริษัท เจ.เอฟ.อี. สตีล คอร์ปเปอเรชั่น (JFE Steel Corporation) ซึ่งเป็น
ผู้ผลิตรายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยมูลค่าการนำเข้าคิดเป็นประมาณร้อยละ 90 ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งหมด
ของบริษัท เหล็กแผ่นรีดร้อนเกรดพิเศษเป็นวัตถุดิบที่มีผู้ผลิตน้อยราย โดยญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในตลาดโลก
ในอดีตถึงปัจจุบันบริษัทไม่เคยประสบปัญหาในการจัดซื้อแผ่นเหล็ก เนื่องจากบริษัทมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีกับ
บริษัทผู้ผลิตแผ่นเหล็ก ประกอบกับมีการตกลงสั่งซื้อเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนล่วงหน้า โดยในใบสั่งซื้อสินค้า
จะกำหนดเงื่อนไข ได้แก่ รายการสินค้า ราคาที่ตกลง ระยะเวลา ปริมาณ สถานที่ส่งสินค้า และที่ผ่านมาบริษัทได้รับ
วัตถุดิบตรงตามกำหนด
บริษัทมีแผนการกระจายความเสี่ยงในการพึ่งพิงวัตถุดิบจากประเทศญี่ปุ่นเพียงแห่งเดียว โดยเริ่มมีการจัดซื้อ
แผ่นเหล็กที่มีลักษณะเดียวกันและคุณภาพใกล้เคียงจากผู้ผลิตในประเทศเกาหลี อีกทั้งผู้รับเหมาบางรายมีการจัดหา
วัตถุดิบจากผู้ผลิตรายอื่นให้บริษัทเพื่อใช้ในการผลิต ซึ่งสามารถนำมาผลิตได้ตามความต้องการของลูกค้าและเป็น
การลดความเสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบ โดยในปี 2548 บริษัทมีแผนการสั่งซื้อแผ่นเหล็กรีดร้อนเกรดพิเศษจากผู้ผลิตใน
ประเทศเกาหลีประมาณร้อยละ 30 ของปริมาณการสั่งซื้อแผ่นเหล็กรีดร้อนเกรดพิเศษทั้งหมดที่ใช้ในโครงการของ
ลูกค้าบริษัท
3. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
นับจากปลายปี 2543 เป็นต้นมา เศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลกเริ่มฟื้นตัว มีการขยายตัวในธุรกิจก่อสร้าง
มากขึ้น ทำให้ความต้องการเหล็กเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงส่งผลให้ราคาเหล็กปรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยราคาเหล็กแผ่น
รีดร้อนเกรดพิเศษที่ประเทศไทยนำเข้าเพื่อใช้ทำการผลิตในปี 2544 เฉลี่ยอยู่ที่ 16,836 บาทต่อตัน และปรับเพิ่มขึ้น
เป็นราคาเฉลี่ยที่ 24,373 บาทต่อตันในปี 2547 โดยในปี 2544 ถึง 2547 ราคาปรับสูงขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ
11 ต่อปี (ที่มา: กรมศุลกากร, ประเทศไทย)
การเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบเหล็กส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตโครงสร้างเหล็กของบริษัท
เนื่องจากบริษัทสั่งซื้อแผ่นเหล็กรีดร้อนเกรดพิเศษ (Special hot rolled steel) เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 60 ของต้นทุนผลิต อย่างไรก็ตามบริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบจากการผันผวนของราคาวัตถุดิบ
เหล็กแผ่นรีดร้อนมากนัก เนื่องจากบริษัทสั่งซื้อวัตถุดิบล่วงหน้าประมาณ 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง โดยปกติจะสั่งซื้อ
ประมาณเดือนมีนาคมและเดือนกันยายนของแต่ละปี โดยปริมาณการสั่งซื้อจะสั่งซื้อตามแผนการผลิต ซึ่งได้วางแผน
มาจากคำสั่งซื้อตามโครงการของลูกค้าในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี จากการที่บริษัทมีทั้งแผนการสั่งซื้อ
วัตถุดิบและการตกลงราคาการสั่งซื้อในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน ทำให้บริษัทสามารถวางแผนการสั่งซื้อได้และมี
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาวัตถุดิบไม่มากนัก
4. ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจก่อสร้างในประเทศญี่ปุ่น
การประกอบธุรกิจของบริษัทเป็นการรับจ้างผลิตโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่สำหรับงานก่อสร้างอาคารสูง
โดยร้อยละ 90 เป็นการผลิตให้กับผู้รับเหมารายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก ดังนั้นธุรกิจของบริษัทจึงขึ้นอยู่กับ
ภาวะธุรกิจก่อสร้างในประเทศญี่ปุ่น
อย่างไรก็ดี แม้ว่าการเติบโตของธุรกิจก่อสร้างจะอิงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ แต่ที่ผ่านมาปริมาณ
ความต้องการโครงสร้างเหล็กของญี่ปุ่นยังอยู่ในปริมาณที่สูง ประกอบกับบริษัทมีความสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มี
มาตรฐานและคุณภาพ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดก่อสร้างมาโดยตลอด โดยการก่อสร้างที่ใช้โครงสร้างเหล็กนั้น
ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับสัญญาการรับจ้างผลิตจากผู้รับเหมาเป็นการจ้างผลิตล่วงหน้าประมาณ
6 เดือน ถึง 1 ปี ทำให้บริษัทไม่มีปัญหาเรื่องการจัดจำหน่าย ดังนั้นบริษัทคาดว่าจะไม่มีปัญหาในการส่งออก
โครงสร้างเหล็กไปยังประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากสินค้าของบริษัทมีคุณภาพได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในประเทศญี่ปุ่น
และบริษัทได้รักษาคุณภาพสินค้าที่ผลิตให้ได้ตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทมีปริมาณการสั่งซื้อสินค้าอย่าง
ต่อเนื่องจากประเทศญี่ปุ่นโดยเป็นการทำสัญญาโครงการล่วงหน้าระยะเวลาประมาณ 6 ถึง 12 เดือน มาตลอดเช่นกัน
5. ความเสี่ยงจากการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอิทธิพลกำหนดนโยบายการบริหาร
กลุ่มดร.ไนยวน ชิ ถือหุ้นในบริษัทรวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.97 ของทุนชำระแล้ว ซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้น
มากกว่า 3 ใน 4 ตลอดจนมีการส่งตัวแทนดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ
บริษัท ทำให้กลุ่มดังกล่าวสามารถควบคุมนโยบายของบริษัท และการบริหารงาน ตลอดจนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
ของบริษัทในทุกเรื่องที่ต้องใช้มติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ดร.ไนยวน ชิ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทและเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจโครงสร้างเหล็กและธุรกิจ
การก่อสร้างมานานกว่า 20 ปี ทั้งในประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสิงคโปร์
ดร.ไนยวน ชิ จบปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ที่ผ่านมา ดร.ไนยวน ชิ
ได้ทุ่มเทในการพัฒนาองค์กรและผลิตภัณฑ์อย่างไม่หยุดยั้งเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของ
ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนั้น ยังเป็นบุคคลที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จในทุกวันนี้
อย่างไรก็ตามภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนในครั้งนี้ กลุ่มดร.ไนยวน ชิ จะถือหุ้นในบริษัทใน
สัดส่วนลดลงเหลือร้อยละ 70.17 ของทุนชำระแล้วของบริษัท ซึ่งยังเป็นสัดส่วนที่สามารถควบคุมมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ได้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งกรรมการ หรือการขอมติในเรื่องอื่นที่ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุม
ผู้ถือหุ้น ยกเว้นเรื่องที่กฎหมายหรือข้อบังคับบริษัทกำหนดให้ต้องได้รับเสียง 3 ใน 4 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้น
ผู้ถือหุ้นรายอื่นอาจไม่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลเรื่องที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เสนอได้
6. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้บริหาร
เนื่องจาก ดร.ไนยวน ชิ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งมีส่วนสำคัญ
ในการบริหารงานของบริษัทอย่างมาก นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้ารายใหญ่ ดังนั้นจึงอาจพิจารณา
ได้ว่าความเชื่อมั่นต่อบริษัทอาจขึ้นกับการบริหารงานของบุคคลคนเดียวได้
อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2544 โดยมีการวางระบบงานบริหาร
การจัดการและการดำเนินงานที่ดี ตรวจสอบได้ โดยมีการควบคุมคุณภาพการผลิตทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มี
คุณภาพมาตรฐานเป็นที่ต้องการของลูกค้า ซึ่งจากนโยบายที่ได้กำหนดเมื่อ 3 ปีก่อนขณะนี้ได้มีการดำเนินการตาม
นโยบายแล้ว ตลอดจนบริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถลดความเสี่ยงจากการ
พึ่งพิงผู้บริหารลงได้ นอกจากนั้นผู้บริหารรายดังกล่าวยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ซึ่งต้องคำนึงถึงประโยชน์ของ
บริษัทเป็นสำคัญ นอกจากนี้ บริษัทมีแนวความคิดที่จะพิจารณาบุคคลใหม่ๆ มาร่วมพัฒนาองค์กรเพื่อเป็นการเพิ่ม
ศักยภาพการแข่งขันในอนาคต
อนึ่ง พนักงานระดับบริหารส่วนใหญ่ทำงานกับบริษัทมาอย่างน้อย 8 ปี จึงเข้าใจระบบการบริหารงาน การจัดการ
และการดำเนินงานของบริษัท จึงสามารถบริหารงานด้านการผลิตและการตลาด ตลอดจนประสานงานกับลูกค้าได้เป็น
อย่างดี นอกจากนี้ยังมีความคุ้นเคยกับลูกค้าของบริษัทเป็นอย่างดีเช่นกัน โดยบริษัทมีบุคลากรชาวญี่ปุ่นที่ทำงานใน
ประเทศไทยซึ่งพูดภาษาไทยได้อยู่ 3 ท่าน และบริษัทมีการว่าจ้างพนักงานในประเทศญี่ปุ่น 2 คน เพื่อประสานงานและ
ประชุมกับหน่วยงานต่างๆในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ผู้บริหารท่านหนึ่งของบริษัทยังมีประสบการณ์ทำธุรกิจกับ
ประเทศญี่ปุ่นมากว่า 20 ปี
7. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน
ในปี 2547 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีการผันผวนอย่างมาก โดยมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี
และมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบที่ผันผวนส่งผลกระทบถึงค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของการบริการ เนื่องจากวัตถุดิบเหล็กส่วนใหญ่ที่ใช้ในการผลิตต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดย
ค่าขนส่งในปี 2547 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 16 ของต้นทุนการผลิต
อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทมากนักเนื่องจากบริษัทสามารถ
ควบคุมค่าขนส่งได้บางส่วน โดยบริษัททำสัญญาขนส่งกับบริษัทขนส่งเป็นรายปีและมีการตกลงอัตราค่าขนส่งกัน
ล่วงหน้า นอกจากนั้นบริษัทมีโครงการสร้างท่าเทียบเรือที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเอื้อประโยชน์
ต่อบริษัทในด้านความสะดวกและการประหยัดเวลาในการขนส่งสินค้า ตลอดจนคาดว่าจะสามารถลดต้นทุนค่าขนส่ง
ของบริษัทได้ประมาณ 90 บาทต่อตัน ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 1 ? 2 ของต้นทุนค่าขนส่งรวม
8. ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
วัตถุดิบหลักส่วนใหญ่ที่ใช้ในการผลิตร้อยละ 65 ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนเกรดพิเศษ (Special hot rolled steel)
ซึ่งบริษัทจะนำเข้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทำการซื้อเป็นเงินสกุลเยน บริษัทจึงไม่สามารถ
หลีกเลี่ยงกับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตโดยตรง โดยในปี 2545
บริษัทมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 6.39 ล้านบาท ปี 2546 ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 4.07 ล้านบาท ปี 2547 กำไร
จากอัตราแลกเปลี่ยน 26.72 ล้านบาท และไตรมาส 1 ปี 2548 กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 11.07 ล้านบาท ในส่วนของ
เงินกู้ ในไตรมาส 1 ปี 2548 บริษัทไม่มีเงินกู้เป็นเงินตราต่างประเทศ
และเนื่องจากบริษัทมีรายได้จากการขายส่วนใหญ่เป็นเงินสกุลเยนเช่นกัน ดังนั้นความเสี่ยงของการผันผวนจาก
อัตราแลกเปลี่ยนจึงไม่มีผลมากนักเนื่องจากรายได้และต้นทุนแปรผันตามกัน นอกจากนี้ บริษัทมีการบริหารความเสี่ยง
โดยการฝากเงินประเภทออมทรัพย์ในสกุลต่างประเทศโดยเฉพาะเงินสกุลเยนเพื่อชำระหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นเงินสกุลเยน
9. ความเสี่ยงในเรื่องการลงทุนในโครงการปุ๋ยอินทรีย์
บริษัทมีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อผลิตและจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ
โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่บริษัทอีกทางหนึ่งในอนาคต ซึ่งบริษัทอาจได้รับความเสียหายหากการ
ดำเนินงานของโครงการปุ๋ยอินทรีย์ไม่ประสบความสำเเร็จและส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัท
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจการเกษตรไม่ได้เป็นธุรกิจหลักของบริษัท โดยบริษัทได้ลงทุนไปแล้วประมาณ 20 ล้านบาท
ในเครื่องจักรและอาคารเทคโนโลยีชีวภาพ และในปี 2547 บริษัทได้เริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์
และทดลองขายผลิตภัณฑ์ บริษัทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมาณ 2 ? 2.5 ล้านบาทต่อปี
และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 11 ?12 ล้านบาทต่อปี ในระหว่างปี 2548 ? 2549 โดยเป็นการวิจัยภายนอกบริษัท
ต่อเนื่องจากปี 2547 และการวิจัยและพัฒนาสูตรภายในบริษัท โดยแหล่งเงินทุนของโครงการปุ๋ยอินทรีย์จะมาจาก
เงินทุนหมุนเวียนของบริษัท

กรณีพิพาท - ไม่มี -

จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 31 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2548 จำนวน 542 คน (รวมคนงานที่ประเทศญี่ปุ่น 1 คน)

ประวัติความเป็นมาโดยสรุป
บริษัท เอ็ม.ซี.เอส. สตีล จำกัด (มหาชน) (บริษัท) (เดิมชื่อ บริษัท เอ็ม.ซี.เอส. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ
บริษัท เอ็ม.ซี.เอส. โฮโกกุ จำกัด) ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในวงการเหล็กและธุรกิจก่อสร้างมานาน
4 ท่าน คือ ดร.ไนยวน ชิ นายสมพงษ์ เมธาสถิตย์สุข นายมาโนช อิวานุวัฒน์ และสุวัธน์ อึ้งภากรณ์ ด้วยทุนจดทะเบียน
เริ่มแรก 15 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท และทุนเรียกชำระแล้ว 400 ล้านบาท โดยมีกลุ่ม
ดร.ไนยวน ชิ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 93.97 ของทุนชำระแล้ว และกลุ่มนายสมพงษ์ เมธาสถิตย์สุข ถือหุ้นในสัดส่วน
ร้อยละ 5.51 ของทุนชำระแล้ว
บริษัทมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อประกอบธุรกิจผลิตและติดตั้งโครงสร้างเหล็กทั่วไปขนาดไม่ใหญ่สำหรับอาคาร
ต่อมาได้พัฒนาเป็นผู้ผลิตโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ (Fabricated Steel) โดยเฉพาะโครงสร้างเหล็กที่เป็นคาน (Beam)
และเสา(Column-Box)ที่มีความทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนได้ดี เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่ นอกจากนี้
ในปี 2546 บริษัทได้เริ่มขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจเกษตรโดยบริษัทจะทำการผลิตและจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์

ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการที่สำคัญของบริษัท สรุปได้ดังนี้
ปี 2535 : จัดตั้งบริษัทภายใต้ชื่อ บริษัท เอ็ม.ซี.เอส. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 15 ล้านบาท
โดยกลุ่มผู้อยู่ในวงการเหล็กและก่อสร้าง 4 ท่าน ได้แก่ ดร.ไนยวน ชิ (ถือหุ้นร้อยละ 30) นายสมพงษ์ เมธาสถิตย์สุข
(ถือหุ้นร้อยละ 30) นายมาโนช อิวานุวัฒน์ (ถือหุ้นร้อยละ 20) และนายสุวัธน์ อึ้งภากรณ์ (ถือหุ้นร้อยละ 20) เพื่อ
ประกอบกิจการผลิตและติดตั้งโครงสร้างเหล็กทั่วไป
ปี 2537 : ได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี PC Panel Fabrication ซึ่งเป็นการผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปไปประกอบกับ
ตัวอาคาร (ปัจจุบันไม่ได้ทำแล้ว) จาก Light Weight Concrete Co. (LWC) ประเทศสิงค์โปร์, ได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี
Open Joint System ซึ่งเป็นเทคนิคการเชื่อมต่อแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป (ปัจจุบันไม่ได้ทำแล้ว) จาก Iwaki Kase Co.
ประเทศญี่ปุ่น, เป็นผู้ผลิต PC Panel โดยใช้ระบบ Open Joint System เป็นรายแรกในประเทศไทย
ปี 2538 : เริ่มผลิตโครงสร้างเหล็กโดยบริษัท โฮโกกุ จูกิ จำกัด (Hokoku Juki Co.) ประเทศญี่ปุ่นได้ถ่ายทอด
เทคโนโลยีสำหรับงานออกแบบโครงสร้างเหล็ก โดยได้ถ่ายทอดความชำนาญ (know-how) ส่งบุคลากรมาให้การ
อบรม และได้มีการคิดค่าตอบแทนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีรายปีเป็นระยะเวลา 5 ปี, ได้รับใบรับรองมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับการขึ้นรูปตัว H ซึ่งเป็นมาตรฐานคุณภาพของประเทศไทยจากกระทรวง
อุตสาหกรรม ประเทศไทย
ปี 2539 : เปิดตัวระบบ Automation Equipment Line ซึ่งเป็น line การผลิตเสา นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น มูลค่า
30 ล้านบาท
ปี 2540 : เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เอ็ม.ซี.เอส. โฮโกกุ จำกัด และมีการตั้งบริษัท MCS Holding เพื่อถือหุ้นใน
บริษัท เอ็ม.ซี.เอส. โฮโกกุ จำกัด ร้อยละ 99.99 แทนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมรายบุคคล, ผลิตและติดตั้งโครงสร้าง
เหล็กและติดตั้งด้วย PC panel ให้แก่ลูกค้าเป็นแห่งแรกที่ตึกยาคูลท์ สำนักงานใหญ่ 22 ชั้น, บริษัทได้ขยายตลาดไป
ต่างประเทศ คือ ประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก โดยการส่งออกชิ้นงานซึ่งเป็นข้อต่อระหว่างเสากับคาน
ปี 2541 : ได้ประกาศนียบัตรมาตรฐานระดับ H class fabricator ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านโครงสร้างเหล็ก ของ
ประเทศญี่ปุ่น จาก Japan Steel Rib Fabricators Association, ได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานคุณภาพ
ISO 9002
ปี 2543 : ได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001:2000 ระบบบริหารและจัดการคุณภาพ
ปี 2544 : เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เอ็ม.ซี.เอส. สตีล จำกัด และมีการปรับโครงสร้างการถือหุ้น โดยให้ผู้ถือหุ้น
ของ บริษัท MCS Holding มาถือหุ้นในบริษัทโดยตรง
ปี 2546 : สร้างโรงงานเกษตรเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 ด้วยเงินลงทุน 15 ล้านบาท ขนาด 4,000 ตร.ม.
ปี 2547 : สร้างห้องทดลอง (Test room) ด้วยเงินลงทุน 6.5 ล้านบาท
ปี 2548 : ที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2548 มีมติเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 400 ล้านบาท
เป็น 500 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 100 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยจำนวน 95 ล้านหุ้น
เสนอขายประชาชนเป็นครั้งแรก และไม่เกิน 5 ล้านหุ้น เสนอขายแก่พนักงานของบริษัท พร้อมทั้งนำบริษัทเข้าจด
ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ บริษัทได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ภายใต้ชื่อ บริษัท
เอ็ม.ซี.เอส. สตีล จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548

เงินลงทุนในบริษัทย่อย - ไม่มี -
บริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง

การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา
หน่วย: ล้านบาท
วัน/เดือน/ปี ทุนที่ (ลด) เพิ่ม หลังเพิ่ม (ลด) ทุน หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน
มิ.ย. 2545 100 400 เพื่อขยายฐานเงินทุน
ม.ค. 2548 100 500 เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้ประชาชน และพนักงาน
ของบริษัท เพื่อใช้ในการลงทุนขยายกำลังการผลิต ลงทุน
ในการพัฒนาธุรกิจ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม - 31 ธันวาคม

ผู้สอบบัญชี ปี 2545 ? 2546 นายพีระเดช พงษ์เสถียรศักดิ์ บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด
ปี 2547 นายพิชัย ดัชณาภิรมย์ บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด
ปี 2548 นายพิชัย ดัชณาภิรมย์ บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด

นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท ไอเอฟซีที แอดไวเซอรี จำกัด

นโยบายการจ่ายเงินปันผล
บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีและสำรองตาม
กฎหมายบริษัทอาจกำหนดให้จ่ายเงินปันผลในอัตราน้อยกว่าที่กำหนดข้างต้นได้ ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงาน ฐานะ
การเงิน สภาพคล่อง ความจำเป็นในการใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน การขยายธุรกิจ และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องในการ
บริหารงานของบริษัท

บัตรส่งเสริมการลงทุน - ไม่มี -

จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2548 ปรากฏดังนี้

จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders
1.1 รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ - - -
1.2 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง 19 372,960,000 74.59
และบุคคลที่มีความสัมพันธ์
1.3 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย - - -
1.4 ผู้มีอำนาจควบคุม - - -
1.5 ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายในเวลาที่กำหนด * - - -
2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย 1,572 127,040,000 25.41
3. ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย - - -
รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น 1,591 500,000,000 100.00
* หมายเหตุ: กลุ่มผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงการห้ามขายหุ้นภายในกลุ่ม นอกเหนือจากหุ้นที่ต้องนำมาฝาก silent period

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2548

ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. นาย ไนยวน ชิ * 160,865,000 32.17
2. นายชิ ชิง โป 90,000,000 18.00
3. นางโยโกะ ชิ 30,000,000 6.00
4. นายไดชู ชิ 20,000,000 4.00
5. เด็กหญิงเชียหลิน ชิ 20,000,000 4.00
6. เด็กชายหย่วกวง ชิ 20,000,000 4.00
7. CREDIT SUISSE SINGAPORE
TRUST ACCOUNT CLIENTS-SUB ACC1 15,500,000 3.10
8. เด็กหญิงชาลิสา ชิ 10,000,000 2.00
9. นางพรทิพย์ สายสะอาด 7,390,000 1.48
10. นายสมพงษ์ เมธาสถิตย์สุข 6,065,000 1.21
รวม 379,820,000 75.96

* รวมหุ้นที่ให้ยืมเพื่อการจัดสรรหุ้นส่วนเกินจำนวน 15.00 ล้านหุ้น

ผู้ถือหุ้นต่างด้าว ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2548
บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 17 ราย
ถือหุ้นรวมกัน 196,929,700 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 39.39 ของทุนจดชำระแล้ว
หมายเหตุ บริษัทมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างด้าวตาม
ข้อบังคับของบริษัทข้อ 12 ว่า หุ้นของบริษัทโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด
เว้นแต่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้อัตราส่วนการถือหุ้นของบุคคล
ที่ไม่มีสัญชาติไทยขัดแย้งกับข้อ6. แห่งข้อบังคับนี้ และข้อบังคับ
ของบริษัทข้อ6. ว่า หุ้นของบริษัทจะถือโดยบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย
ในขณะใดขณะหนึ่งได้ไม่เกินกว่าร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่าย
ได้แล้วทั้งหมด


คณะกรรมการ ณ วันที่ 24 มกราคม 2548 คณะกรรมการบริษัทมีจำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วย
รายชื่อ ตำแหน่ง วันที่ดำรงตำแหน่ง
1. ดร.ไนยวน ชิ * ประธานกรรมการ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 4 เมษายน 2539
2. นายสมพงษ์ เมธาสถิตย์สุข กรรมการ และ กรรมการผู้อำนวยการ 9 มิถุนายน 2535
3. นายคิน เลียง ลี กรรมการ 24 มกราคม 2548
4. นายพรชัย พิศาลอนุกูลกิจ กรรมการ 24 มกราคม 2548
5. นายสมยศ เจียมจิรังกร กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ 24 มกราคม 2548
6. พลตำรวจตรีสุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 24 มกราคม 2548
7. นางวิภาดา ชาติกุลวัฒน์ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 24 มกราคม 2548
โดยมีนางสาวกัญชลิกา แสงปริญญา เป็นเลขานุการคณะกรรมการบริษัท
* เมื่อเดือนมีนาคม 2548 ดร.ไนยวน ชิ เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระในบริษัทผู้ผลิตโครงสร้างเหล็กใน
ประเทศจีน ซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2548 ได้พิจารณาแล้วว่า การดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่มีความขัดแย้ง
ทางผลประโยชน์ใดๆ และจะไม่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการในบริษัทหรือทำให้บริษัทได้รับ
ความเสียหายแต่อย่างใด

คณะกรรมการตรวจสอบ
ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2548 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบดังนี้
รายชื่อ ตำแหน่ง
นายสมยศ เจียมจิรังกร ประธานกรรมการตรวจสอบ
พลตำรวจตรีสุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล กรรมการตรวจสอบ
นางวิภาดา ชาติกุลวัฒน์ กรรมการตรวจสอบ
โดยมีนางสาวกัญชลิกา แสงปริญญา เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ
1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ โดยประสานงานกับผู้สอบบัญชี
ภายนอกและผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี และอาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชี
ภายนอกสอบทานหรือตรวจสอบรายการใดๆที่ เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญในระหว่างการตรวจสอบบัญชีบริษัทก็ได้
2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่
เหมาะสม และมีประสิทธิผล โดยสอบทานร่วมกับผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้ตรวจสอบภายใน
3. สอบทานการปฏิบัติของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาด
หลักทรัพย์ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
4. พิจารณา คัดเลือกและเสนอ แต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัท รวมถึงการพิจารณาเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของ
บริษัท โดยคำนึงถึงความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากรและปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบนั้น
รวมถึงประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัท
5. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทาง
ผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายและคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย
7. จัดทำรายงานกิจกรรมการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบและกิจกรรมอื่นของคณะกรรมการ
ตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
รายงานดังกล่าวประกอบด้วยข้อมูล
7.1 ความเห็นเกี่ยวกับขบวนการจัดทำและเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัทถึงความถูกต้องครบถ้วน
และเป็นที่น่าเชื่อถือ
7.2 ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัท
7.3 เหตุผลที่เชื่อว่าผู้สอบบัญชีของบริษัทเหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้งต่อไป
7.4 ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาด
หลักทรัพย์ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
7.5 รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้
รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
8. รายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ให้คณะกรรมการบริษัททราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
9. มีอำนาจในการดำเนินการตรวจสอบและสอบสวนตามที่จำเป็นในเรื่องต่างๆ รวมถึงการแสวงหาความเห็นที่
เป็นอิสระจากที่ปรึกษาทางวิชาชีพอื่นใดเมื่อเห็นจำเป็นด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท เพื่อให้การปฎิบัติงานภายใต้หน้าที่
ความรับผิดชอบให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ประธานกรรมการตรวจสอบ 2 ปี
2. กรรมการตรวจสอบ 2 ปี
(รวมทั้งการแต่งตั้งเพิ่มและถอดถอนจากกรรมการตรวจสอบ)

เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ (ถ้ามี) - ไม่มี -

ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น
ผู้ถือหุ้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารที่ถือหุ้นรวมกันจำนวน 325,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 65 ของทุนชำระแล้ว
หลังเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าวออกจำหน่ายเป็น
ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของบริษัทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยเมื่อครบกำหนด
ระยะเวลาทุกๆ 6 เดือน ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ทยอยขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งห้ามขายได้ใน
จำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นหรือหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขายและเมื่อครบกำหนด 1 ปี 6 เดือนสามารถ
ขายส่วนที่เหลือได้ทั้งหมด

การผ่อนผันของตลาดหลักทรัพย์ - ไม่มี -

อื่น ๆ ที่สำคัญ (ถ้ามี) - ไม่มี -

สถิติ
บริษัท เอ็ม.ซี.เอส สตีล จำกัด (มหาชน)
|---- พันบาท (in thousands) --- |---------------- บาท/หุ้น (baht/share*) ----------------|
ปี รายได้รวม กำไร(ขาดทุน) กำไร(ขาดทุน) เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล
สุทธิ สุทธิ สุทธิ ตามบัญชี ต่อกำไร (%)
2545 (ตรวจสอบ) 752,588 11,618 0.03 - 0.90 -
2546 (ตรวจสอบ) 1,033,281 58,281 0.15 0.05 1.05 34.32
2547 (ตรวจสอบ) 1,547,380 130,169 0.33 0.25 1.54 76.82
ไตรมาส 1, 2548 (สอบทาน) 584,029 68,916 0.17 - 1.68 -
* มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ในปี 2545-2547 แต่ตารางข้างต้นได้แปลงมูลค่าที่ตราไว้เป็นหุ้นละ 1 บาท เพื่อ
การเปรียบเทียบ, ในไตรมาสแรกของปี 2548 บริษัทได้เปลี่ยนมูลค่าที่ตราไว้เป็นหุ้นละ 1 บาท

งบดุล
บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด (มหาชน)
(หน่วย: พันบาท)
ตรวจสอบ ตรวจสอบ ตรวจสอบ สอบทาน
2545 2546 2547 งวด 3 เดือน สิ้นสุด
31 มีนาคม 2548
สินทรัพย์
เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน 57,271 239,301 302,123 251,778
ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้เงินประกันผลงาน - สุทธิ 94,501 91,533 164,582 246,212
สินค้าคงเหลือ 119,562 158,461 142,968 233,944
ลูกหนี้กรมสรรพากร 27,706 1,618 462 1,510
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 1,240 4,289 2,410 3,043
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 300,280 495,202 612,545 736,487
เงินลงทุนทั่วไป - 1,095 - -
เงินฝากที่ติดภาระค้ำประกัน - - 30,000 30,037
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 444,122 444,048 640,432 626,615
สินค้าตามสัญญาซื้อล่วงหน้ายังไม่ถึงกำหนดส่งมอบ 4,315 - - -
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 519 2,272 2,324 2,318
รวมสินทรัพย์ 749,236 942,617 1,285,301 1,395,457

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจาก 80,826 180,217 2,266 1,330
สถาบันการเงิน
เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 194,149 212,546 426,472 550,567
ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 15,000 15,000 20,000 20,000
ภาระหนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงินที่ถึงกำหนดใน1ปี 0 0 2,827 2,859
ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 4,709 17,341 42,282 71,686
เงินปันผลค้างจ่าย 0 0 100,000 0
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 37,200 75,081 41,915 37,466
ประมาณการหนี้สินจากการรับประกันผลงาน 0 0 28,539 34,055
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 921 2,390 3,976 1,854
เงินกู้ยืมระยะยาว-สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนดชำระใน1ปี 35,000 20,000 0 0
ภาระหนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงิน-สุทธิ 19,670 0 2,933 2,206
รวมหนี้สิน 387,475 522,575 671,210 722,024
หุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้ว 400,000 400,000 400,000 400,000
ส่วนเกินทุนจากการปรับมูลค่าทรัพย์สิน 0 0 183,880 174,307
กำไร (ขาดทุน) สะสม (38,239) 20,042 30,211 99,127
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 361,761 420,042 614,091 673,434
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 749,236 942,617 1,285,301 1,395,457

งบกำไรขาดทุน
บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด (มหาชน)
(หน่วย: พันบาท)
ตรวจสอบ ตรวจสอบ ตรวจสอบ สอบทาน
2545 2546 2547 งวด 3 เดือน สิ้นสุด
31 มีนาคม 2548
รายได้จากการรับจ้างผลิต 741,906 1,011,811 1,505,448 567,637
กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 6,393 0 0 11,073
รายได้อื่น 4,289 21,470 15,153 5,319
รวมรายได้ 752,588 1,033,281 1,547,380 584,029
ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนงานรับจ้างผลิต 677,031 887,447 1,264,959 461,862
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบริหาร 51,149 53,526 81,105 23,207
ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 0 4,066 0 0
ขาดทุนจากมูลค่าลดลงของเงินลงทุน 0 0 1,095 0
ขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน 0 0 7,616 0
รวมค่าใช้จ่าย 728,180 945,039 1,354,775 485,069
กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน 24,408 88,242 192,605 98,960
ดอกเบี้ยจ่าย (6,856) (4,739) (2,712) (440)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล (5,934) (25,222) (59,724) (29,604)
กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 11,618 58,281 130,169 68,916
กำไร(ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท) 0.03* 0.15* 0.33* 0.17
จำนวนหุ้นสามัญเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (พันหุ้น) 3,732* 4,000* 4,000* 4,000*
หมายเหตุ: * มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ในปี 2545-2547 แต่ตวเลขข้างต้นได้แปลงมูลค่าที่ตราไว้เป็นหุ้นละ 1 บาท
เพื่อการเปรียบเทียบ, ในไตรมาสแรกของปี 2548 บริษัทได้เปลี่ยนมูลค่าที่ตราไว้เป็นหุ้นละ 1 บาท

งบกระแสเงินสด
บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด (มหาชน)
(หน่วย: พันบาท)
(หน่วย: พันบาท)
ตรวจสอบ ตรวจสอบ ตรวจสอบ สอบทาน
2545 2546 2547 งวด 3 เดือน สิ้นสุด
31 มีนาคม 2548
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน 289,105 367,037 59,268
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (44,566) (87,175) (8,279)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (62,509) (217,040) (101,631)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ 182,030 62,822 (50,642)

จัดทำโดย บริษัท ไอเอฟซีที แอดไวเซอรี จำกัด

 กลับขึ้นบน
U
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 271
#1 วันที่: 02/09/2005 @ 08:43:02 : re: เกี่ยวกับเหล็ก MCS
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน (หน่วย : พันบาท)
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2005 2004 2005 2004

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 77,900 40,638 146,815 69,798
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.19 0.10 0.37 0.17

ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต


หมายเหตุ : 1. โปรดดูรายละเอียดงบการเงิน รายงานของผู้สอบบัญชี และหมายเหตุ
ประกอบงบการเงินจากระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์

ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบ
การเงินฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์และส่งต้นฉบับให้กับสำนักงาน
ก.ล.ต.เรียบร้อยแล้ว

ลงลายมือชื่อ _______________________
(ดร.ไนยวน ชิ )
ตำแหน่ง ประธานกรรมการ
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
 กลับขึ้นบน
U
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 271
#2 วันที่: 02/09/2005 @ 08:45:51 : re: เกี่ยวกับเหล็ก MCS
ที่ MCS 003/2548

วันที่ 8 สิงหาคม 2548


เรื่อง ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2548 บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด (มหาชน) (เกิน20%)
เรียน กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด (มหาชน) ขอแจ้งว่า จากรายงานงบการเงินระหว่างกาล
ของบริษัทฯ สำหรับไตรมาสสิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 ได้แสดงถึงผลการดำเนินงานที่มีการ
เปลี่ยนแปลงเกินกว่าร้อยละ 20 จากงวดเดียวกันของปี 2547 เนื่องจาก
1.บริษัทฯมีปริมาณการขายเพิ่มขึ้น 143 ตันเทียบจากไตรมาส 2 /2547
2.ราคาต่อตันสูงขึ้นประมาณ 15,000 บาท
3.ต้นทุนของงานลดลง 3.48 เปอร์เซนต์
4.ในไตรมาส 2 / 2547 บริษัทฯไม่มีรายได้จากงานในประเทศ




ขอแสดงความนับถือ


( นายไนยวน ชิ )
ประธานกรรมการ

...........................................................................................................




ที่ MCS 002/2548

วันที่ 8 สิงหาคม 2548


เรื่อง การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ไตรมาส2/48
เรียน กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท เอ็ม.ซี.เอส. สตีล จำกัด(มหาชน) ครั้งที่ 6/2548
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2548 ได้มีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์ในเรื่องสำคัญดังต่อไปนี้

1.อนุมัติงบการเงินไตรมาส 2 ปี 2548 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 ซึ่งผ่านการ
สอบทานจากผู้สอบบัญชี
2.สรุปผลการดำเนินงานของบริษัทฯในงวด 6 เดือนแรก ปี 2548 มียอดขายสุทธิ
1,114.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 307.278 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 38
มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 146.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 110.34 จากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่ประชุมจึง
มีมติอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนในอัตราหุ้นละ
0.12 บาท โดยกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลของผู้ถือหุ้นใน
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2548 เวลา 12.00 น.และกำหนดจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นใน
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2548

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ


ขอแสดงความนับถือ



( นายไนยวน ชิ )
ประธานกรรมการ
 กลับขึ้นบน
U
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 271
#3 วันที่: 02/09/2005 @ 08:50:53 : re: เกี่ยวกับเหล็ก MCS
เกาะติดญี่ปุ่นไว้หน่อยก็ดีนะครับ .0008

.0008 BSBM บางปะกง น้ำคงขึ้นๆลงๆ .0007

BYE BYE.......................SEE YOU .000A
 กลับขึ้นบน
ส้ม
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 96
#4 วันที่: 02/09/2005 @ 16:22:05 : re: เกี่ยวกับเหล็ก MCS
.0009 .0009
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com