April 20, 2024   4:52:48 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องสาระน่ารู้ > กลยุทธ์... Arbitrage
 

??????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,898
วันที่: 02/05/2006 @ 20:32:51
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

กลยุทธ์การใช้ Arbitrage เป็นกลยุทธ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายของนักลงทุนสถาบัน
เป็นกลยุทธ์การทำกำไร ที่มีความเสี่ยงน้อยสุด หรือไม่มีความเสี่ยงเลย


โดยใช้กลยุทธ์ที่แสวงหาส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์ที่อาจจะเกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพของตลาด
และข้อมูล (Market inefficiency)ซึ่งคนที่ศึกษาเรื่อง Arbitrage อย่างดี
สามารถทำกำไรได้อย่างง่ายและเป็นจำนวนมากโดยจำกัดความเสี่ยงของตนเองให้น้อยสุด

การทำ Arbitrage สามารถทำได้ในหุ้นทุน ตลาดอนุพันธ์ เช่น Futures ของ Index ต่างๆ

ในฉบับนี้ขออนุญาตพูดถึงตัวอย่างการทำ Arbitrage ในตลาดทุน ซึ่งมีหลายกรณีศึกษา ดังนี้

กรณีที่หนึ่ง : การซื้อขายตราสารอนุพันธ์ประเภท Warrants หรือ Cover warrants ที่มีลักษณะ High gearing มากๆ
หรือภาษาการเงินเรียกว่ามี Delta สูง
(หมายความว่า Warrants ที่มีการเคลื่อนไหวเป็นลักษณะทวีคูณของการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์อ้างอิง)
เช่น ในกรณี Warrants ชุดที่ 2 (CPF-W2) ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์าหาร จำกัด (มหาชน)
หรือ CPF ที่หมดอายุไปแล้ว ให้ข้อคิดที่น่าสนใจมาก คือ...

การเคลื่อนไหวของ CPF-W2 จะเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ถ้าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงของราคาของบริษัท CPF เคลื่อนไหวเหนือราคา Exercise price หรือราคาแปลงสภาพ

ในกรณีเช่นนี้ นักลงทุนประเภท Hedge funds จะซื้อ (Long) หรือขาย (Short) ใน Warrants เป็นจำนวนมาก
แต่ใช้เงินจำนวนน้อยเพื่อประคองราคาของสินทรัพย์อ้างอิงให้เหนือราคา Exercise price
การเคลื่อนไหวของ Warrants จะทวีคูณความรุนแรงมากขึ้น ถ้า Warrants นั้นสามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญได้ทุกวัน
อย่างเช่นกรณีตราสารอนุพันธ์ของธนาคารนครหลวงไทย หรือ SCIB หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ SCIB-C1

ซึ่งนักลงทุนจะต้องอ่านเกมให้ขาดว่าทางกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ต้องการลดสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารนครหลวงไทย (SCIB) จาก 78% ให้ต่ำกว่าครึ่งหรือต่ำกว่า 50%
เพื่อต้องการให้ SCIB เปลี่ยนสถานะจากธนาคารรัฐเป็นธนาคารพาณิชย์เอกชน

เพราะฉะนั้นกองทุนฟื้นฟูฯ จึงได้ออก SCIB-C1 ให้แก่นักลงทุน
และต้องการให้นักลงทุนนำมาแปลงสภาพจาก SCIB-C1 เป็นหุ้นสามัญของ SCIB
ในที่สุดสัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูใน SCIB ได้ลดลงจาก 78% มาที่ 47.58% ในเวลาต่อมา

ฉะนั้นเมื่อใดก็ตามราคาหุ้นสามัญของ SCIB สูงกว่าราคาแปลงสภาพ
ราคา Cover warrant ของ SCIB หรือ SCIB-C1 จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเลยทันที

แต่อีกกรณีคือ Cover warrants ของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB-C1 ที่สร้างสีสันให้ตลาดเมื่อ 5-6 ปีก่อน
นักลงทุนจะต้องอ่านเกมให้ขาดว่าการเสนอขาย SCB-C1 ซึ่งถูกเสนอขายพร้อมหุ้นกู้นั้น
ทางผู้ถือหุ้นใหญ่ของ SCB ไม่ต้องการถูกลดสิทธิในการออกเสียง (Voting right)
จึงทำให้ราคาของ SCB-C1 หวือหวาเพียงในช่วงแรกของการซื้อขายเท่านั้น

จากนั้นราคาของ SCB-C1 ได้ปรับลดลงอย่างรวดเร็วจาก 10 บาทเศษๆ เหลือเพียง 10-20 สตางค์ในช่วงวันหมดอายุ
เพราะฉะนั้น กลยุทธ์การลงทุนต้องพิจารณาหรืออ่านให้ขาดว่าความต้องการหรือความไม่ต้องการของผู้ถือหุ้นใหญ่
ว่าจะต้องการลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือไม่ ถ้าทราบจุดประสงค์ของผู้ถือหุ้นแล้ว เราจะทายถึงราคาตอนสุดท้ายของ Cover warrants ได้

โปรดติดตามตอนต่อไป..... .0005

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com