April 25, 2024   5:57:25 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > จับตา ไทเก้น จ้องเทคฯ ไรมอน แลนด์
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 10/02/2006 @ 15:58:43
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

จับตา 2 หุ้นที่ดิน ไรมอน แลนด์ (RAIMON) และ แกรนด์ แอสเสท (GRAND) พบ กลุ่มไทเก้น (โฟรเด้-โอเล่ย์ ไทเก้น) กำลังเข้ามา กวาดหุ้น เข้ารังเป็นการใหญ่ หลังจาก ทิ้งสมอ หุ้น โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) เกลี้ยงพอร์ต ได้เงินสดออกไปกว่า 4,000 ล้านบาท [/color:ffc09c61f9">


การ มูฟ ของกลุ่มไทเก้น ที่นำโดย โฟรเด้ ไทเก้น และ โอเล่ย์ ไทเก้น น่าสนใจยิ่ง เป้าหมายใหม่อยู่ที่หุ้น ไรมอน แลนด์ (RAIMON) และ หุ้น แกรนด์ แอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ (GRAND)

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไรมอน แลนด์ ถือว่าเป็น จิ๊กซอว์ ใหม่ ของกลุ่มไทเก้น บนกระดานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่พุ่งเป้าไปที่ตลาด คอนโดมิเนียมหรู 2 โครงการมูลค่าเฉียด 1 หมื่นล้านบาท

ทีมข่าว กรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบว่า กลุ่มไทเก้นเข้ามาสะสมหุ้น RAIMON เข้าพอร์ตแล้ว 501.03 ล้านหุ้น สัดส่วน 37.13% ผ่าน โฟรเด้ ไทเก้น โอเล่ย์ ไทเก้น บ.นาคราชา และ บ.เกษตรสมุทร

และมีแนวโน้มสูงที่ บล.ซีมิโก้ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ สัดส่วน 22.69% จะปล่อยหุ้น ไรมอน แลนด์ บางส่วน หรือทั้งหมด ให้กับ กลุ่มไทเก้น

ปัจจุบันกลุ่มไทเก้น ลงทุนใน ไรมอน แลนด์ ผ่าน โอเล่ย์ ไทเก้น และ บริษัท นาคราชา จำนวน 207.54 ล้านหุ้น สัดส่วน 15.38% ลงทุนผ่าน โฟรเด้ ไทเก้น จำนวน 249.23 ล้านหุ้น สัดส่วน 18.47% และ ลงทุนผ่าน บริษัท เกษตรสมุทร จำนวน 44.24 ล้านหุ้น สัดส่วน 3.28%

...เท่ากับว่า กลุ่มไทเก้น ครองหุ้น RAIMON ได้แล้ว 37.13% ซึ่งตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นคืนจากนักลงทุนรายย่อย หรือ ทำ เทนเดอร์ ออฟเฟอร์ เพราะทางกลุ่มเข้ามาลงทุนเกิน 25% แล้ว และทั้งหมดถือว่าเป็นกลุ่มทุนเดียวกันชัดเจน

ทั้งนี้กลุ่มไทเก้น เข้ามาเก็บหุ้น ไรมอน แลนด์ ตั้งแต่ปี 2547 ช่วงราคา 0.9-1.10 บาท ประมาณ 10% จากนั้นประมาณเดือนพฤษภาคม 2548 ก็เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ราคาหุ้นละ 1 บาท และเก็บหุ้นเพิ่ม จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทประมาณ 17-18%

ขณะเดียวกันกลุ่มไทเก้น ก็เดินแผน ใต้ดิน เข้ามาเก็บหุ้น RAIMON ผ่านบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ (NVDR) ไล่ซื้อตั้งแต่ราคา 1 บาท ขึ้นไปถึงระดับราคา 1.3-1.4 บาทต่อหุ้น โดยถัวเฉลี่ยแล้วคาดว่ามีต้นทุนหุ้นในพอร์ตค่อนข้างต่ำ ระหว่าง 1-1.10 บาทเท่านั้น

เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ปล่อยหุ้นออกมาให้กับ กลุ่มไทเก้น ได้แก่ Somers (U.K.) Limited และ Quam Securities Nominee(Singapore) ซึ่งเป็นพันธมิตรธุรกิจของ บล.ซีมิโก้

อย่างไรก็ตาม เม็ดเงินลงทุนที่กลุ่มไทเก้น ลงในหุ้น RAIMON ถือว่าเป็นเพียงส่วนน้อย เพราะจากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังกลับไป ตั้งแต่ปี 2546-2548 กลุ่มไทเก้น ซึ่งประกอบไปด้วย อาร์เน่ ไทเก้น (บิดา) กับบุตรชายอีก 2 คน คือ โฟรเด้น ไทเก้น และ โอเล่ย์ ไทเก้น

ขณะที่นั่งในตำแหน่ง ผู้บริหาร และ กรรมการ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) ทั้ง 3 คน ขายหุ้น TTA ออกมารวมกัน 131.32 ล้านหุ้น ที่ราคาเฉลี่ยประมาณหุ้นละ 30 บาท ได้เงินกลับออกไปทั้งสิ้น 3,892 ล้านบาท

ยังไม่นับรวมหุ้นที่ขายผ่านบริษัทในเครืออีกจำนวนหนึ่ง คาดว่าได้เงินออกมาทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาทขึ้นไป

ล่าสุดกลุ่มไทเก้น ประกอบไปด้วย โฟรเด้ ไทเก้น, โอเล่ย์ ไทเก้น และ โอภาส เพชรมุณี เพิ่งลาออกจากการเป็น กรรมการ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา

เป็นที่น่าสังเกตว่า ความเคลื่อนไหวเข้าฮุบกิจการ บริษัท ไรมอน แลนด์ โดยมีสัญญาณเกิดขึ้นชัดเจนเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ภายหลัง กิตติ ตั้งศรีวงศ์ กรรมการบริษัท ไรมอน แลนด์ แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัท เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าว จาก 40% ขึ้นเป็น 49%

...เห็นได้ชัดว่าเตรียมเปิดทางให้ โฟรเด้น ไทเก้น และ โอเล่ย์ ไทเก้น เข้ามาลงทุนเพิ่ม โดยไม่ติดสัดส่วนผู้ถือหุ้น ต่างชาติ ขณะที่ บริษัท นาคราชา และ บริษัท เกษตรสมุทร ก็แฝงเข้ามาในฐานะบริษัทของคนไทย ทั้งๆ ที่เป็นบริษัทที่กลุ่มไทเก้น ถือหุ้นใหญ่

นี่คือ สูตรที่คล้ายคลึงกับกลุ่ม เทมาเส็ก เข้ามาลงทุนใน ชิน คอร์ปอเรชั่น

ที่ชัดเข้าไปอีก ก็คือ กรณีที่ ไรมอน แลนด์ ประกาศยกเลิก และทำการชำระบัญชี กองทุนรวมบางกอกพร็อพเพอร์ตี้ ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไป เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ซึ่งแต่เดิมกองทุนนี้จัดตั้งร่วมกับ บริษัท บางกอก พร็อพเพอร์ตี้ อินเวสเม้นต์ ของกลุ่มไทเก้น (โฟรเด้ ไทเก้น ถือหุ้นใหญ่) เพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ร่วมกัน

โดยเฉพาะที่ดินบนเนื้อที่ 12 ไร่ 54 ตารางวา ที่ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง เพื่อนำมาพัฒนาเป็นโครงการคอนโดมิเนียม นอร์ทพอยท์ พัทยา และโครงการคอนโดมิเนียม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านคลองสาน

แต่เมื่อกลุ่มไทเก้น เข้ามาถือหุ้น RAIMON เพิ่มจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มากกว่า 37% จึงเดินแผนให้ กองทุน ขายโครงการคืนให้กับบริษัทย่อยของ ไรมอน แลนด์ แล้วกลุ่มไทเก้นก็เข้ามามีผลประโยชน์ใน ไรมอน แลนด์ โดยตรง นี่คือ แผนธุรกิจที่มีการวางเกมกันเอาไว้แล้ว

จากนั้นก็จะดันมูลค่าหุ้น RAIMON โดยเปิดตัว 2 โครงการยักษ์ดังกล่าว โดยเบื้องต้นบริษัทจะใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณ 5,000-8,000 ล้านบาท

สำหรับโครงการคอนโดมิเนียม นอร์ทพอยท์ พัทยา ตามแผนจะสร้างเป็นอาคารสูง 41 ชั้น และ 60 ชั้น จำนวน 400 ยูนิต ระดับราคาประมาณ 85,000 บาทต่อตารางเมตร เริ่มต้นที่ขนาด 50-400 ตารางเมตร (ห้องละ 4-34 ล้านบาท) มูลค่าโครงการ 4,000 ล้านบาท

ส่วนโครงการคอนโดมิเนียมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านคลองสาน บนพื้นที่กว่า 13 ไร่ ต้องใช้ระยะเวลาพัฒนา 4-5 ปี ตอนนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ คาดว่าจะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 3,000-5,000 ล้านบาท มีจำนวนห้องเปิดขาย 500-800 ยูนิต และอาจมีเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ และพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์บางส่วน

นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า กลุ่มไทเก้น มีความเคลื่อนไหวเข้ามาเก็บหุ้น แกรนด์ แอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ (GRAND) โดยการเปิดทางของ พงษ์พันธ์ สัมภวคุปต์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ที่กำลังอยู่ระหว่างหาพันธมิตรร่วมลงทุนโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ

ในขณะนี้กลุ่มไทเก้นรวบรวมหุ้น GRAND ได้แล้วจำนวน 50 ล้านหุ้น ในสัดส่วน 5.55% ผ่าน โฟรเด้ ไทเก้น มีต้นทุน (สูงสุด) ที่ได้มาอยู่ที่หุ้นละ 2.94 บาท

สำหรับวิธีการของกลุ่มนี้ ไม่ได้เข้ามาลงทุนอย่างเปิดเผยตั้งแต่แรก แต่จะทยอยเข้ามาเก็บหุ้นผ่าน บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ (NVDR) ล่าสุดพบว่าได้โอนหุ้นจากกระดาน NVDR ไปไว้ในกระดานต่างประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์อะไรบางอย่าง

สำหรับจุดอ่อนของหุ้น GRAND ก็คือ จุดอ่อนทางการเงิน ผลจากการ รุกเร็ว จนนำไปสู่ภาวะความอึดอัดทางด้านสภาพคล่อง โดยเมื่อต้นปี 2547 บริษัทเข้าตลาด พร้อมกับ โรงแรม เวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท เพียงโรงแรมเดียว แต่ระหว่างปี 2548-2549 ประกาศแผนลงทุนต่อเนื่องสูงถึง 9,000 ล้านบาท

โดยหุ้น GRAND ยังเป็นที่น่าสงสัยว่า โฟรเด้ ไทเก้น จะ ถือยาว หรือต้องการ ขายทำกำไร ซึ่งเป็นไปได้ทั้ง 2 แนวทาง

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ[/color:ffc09c61f9">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com