April 25, 2024   3:36:41 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > SCC เทกโอเวอร์ธุรกิจปูนฯเวียดนาม มูลค่า 1.54 หมื่นลบ.
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 08/03/2017 @ 08:44:58
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

"ปูนซิเมนต์ไทย" ปิดดีลซื้อโรงปูนซีเมนต์ในเวียดนาม มูลค่ากิจการ 1.5 หมื่นล้านบาท เข้าถือหุ้น 100% พร้อมปรับปรุงการผลิตและเดินหน้าธุรกิจได้ทันที หนุนกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ในอาเซียนรวมเพิ่มขึ้นเป็น 10.5 ล้านตันต่อปี ด้านวงการมองบวกต่อดีลนี้ คาดหนุนรายได้รวมเพิ่มอีกประมาณ 4% เผยกลุ่ม CLMV ดีมานด์ปูนสูงขึ้นทุกปี

*** SCC เข้าซื้อกิจการปูนซีเมนต์ในเวียดนาม มูลค่า 1.54 หมื่นลบ.
   บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัท เอสซีจี ซีเมนต์ - ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ SCC ถือหุ้นทั้งหมด ได้ซื้อหุ้นร้อยละ 100 ( มูลค่า 156 ล้านเหรียญสหรัฐ ) ใน Vietnam Construction Materials JSC (VCM) ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจปูนซีเมนต์ครบวงจรในภาคกลางของประเทศเวียดนามจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ธุรกรรมดังกล่าวมีมูลค่ากิจการ 440 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 15,400 ล้านบาท) ซึ่งรวมถึงหนี้สินสุทธิและเงินลงทุนส่วนเพิ่มเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกิจการ
   VCM มีโรงงานตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศเวียดนาม กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ 3.1 ล้านตันต่อปี และมีศักยภาพที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจากการปรับปรุงประสิทธิภาพได้อีกในอนาคต ปัจจุบันอุปสงค์และอุปทานของปูนซีเมนต์ในภาคกลางของประเทศเวียดนามอยู่ในระดับที่สมดุล
  ภายหลังการเข้าซื้อกิจการดังกล่าว SCC จะมีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ในอาเซียน (นอกประเทศไทย) รวมเพิ่มขึ้นเป็น 10.5 ล้านตันต่อปี (ปัจจุบัน SCC มีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศไทยรวม 23 ล้านตันต่อปี)
   ทั้งนี้ SCC ยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจปูนซีเมนต์แบบครบวงจรในอาเซียนต่อไป

*** เข้าซื้อหุ้นธุรกิจปิโตรฯ ในเวียดนามเพิ่ม รวมถือหุ้น 71%
   นอกจากนี้ ต้นเดือน มี.ค.60 SCC ได้แจ้งเรื่องการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น ในโครงการ Long Son Petrochemicals ประเทศเวียดนาม โดยการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยใช้เงินลงทุนราว 1,300 ล้านบาท ส่งผลให้ SCC ถือหุ้นใน LSP เพิ่มขึ้นจาก 46% เป็น 71%
   LSP เป็นโครงการปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกของประเทศเวียดนาม มีความสามารถในการแข่งขันในเชิงธุรกิจเนื่องจากเป็นโครงการที่มีการเชื่อมโยงจากโรงงานปิโตรเคมีขั้นต้นถึงขั้นปลายครบวงจร จุดเด่น คือการมีโรงงานผลิตเอททีลีนขนาดกาลังการผลิต 1 ล้านตันต่อปี ที่มีความยืดหยุ่น สามารถเลือกใช้ก๊าซร่วมกับแนฟทาเป็นวัตถุดิบในสัดส่วนต่าง ๆ เพื่อการผลิตโอเลฟินส์รวมกันได้สูงถึง 1.6 ล้านตันต่อปี
   ทั้งนี้ แหล่งเงินทุนของโครงการจะมาจากส่วนของผู้ถือหุ้นและเงินกู้ คาดจะสรุปการลงทุนในครึ่งแรกปี60 และคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี ก่อนเริ่มการผลิตในปี 64

*** DBSV เตรียมปรับเพิ่มประมาณการรายได้ราว 4%
   นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ จาก บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส (DBSV ) กล่าวว่า การซื้อโรงปูนซีเมนต์ที่เวียดนามถือว่าเป็นไปตามแผนของ SCC ที่ต้องการขยายธุรกิจปูนซีเมนต์ไปยังตลาดอาเซียน และการตัดสินใจเข้าซื้อในครั้งนี้เป็นการเข้าลงทุนในเวียดนามต่อจากก่อนหน้านี้ ที่เคยเข้าไปลงทุนอยู่แล้วในธุรกิจปิโตรเคมี
   อย่างไรก็ตาม ในแง่ของผลบวกต่อผลประกอบการหลังเข้าซื้อกิจการดังกล่าว อาจจะยังไม่มากจนมีนัยสำคัญ เนื่องจากเพิ่งเข้าไปลงทุน ประกอบกับมาร์จิ้นจากธุรกิจปูนไม่ได้สูงมากนักเมื่อเทียบกับธุรกิจปิโตรเคมี แต่การเข้าลงทุนธุรกิจปิโตรฯ แม้มาร์จิ้นจะดี แต่ต้องใช้เวลารออีกประมาณ 4 ปีถึงจะก่อสร้างเสร็จและเริ่มการผลิตได้
   นอกจากนี้ ธุรกิจปูนฯ ในเวียดนามยังมีโอเวอร์ซัพพลายอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก ดังนั้น การที่ SCC เข้าไปลงทุน อาจจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนให้มากที่สุด และขายในประเทศเวียดนาม ซึ่งตั้งแต่ปี59 ที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามเร่งลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ จึงเป็นปัจจัยที่จะช่วยสนับสนุนยอดขายปูนฯ ในเวียดนามได้ดี
   " เราคงจะรีวิวบทวิเคราะห์ SCC ใหม่อีกครั้ง อาจจะต้องปรับเพิ่มประมาณการเล็กน้อย คือ ในแง่ของซีเมนต์หลังเข้าซื้อกิจการครั้งนี้น่าจะเพิ่มรายได้จากปูนซีเมนต์ไม่เกิน 10% ส่วนในแง่ของรายได้รวมก็น่าจะเพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกิน 4% " นักวิเคราะห์ ระบุ
  อนึ่ง ทางฝ่ายวิจัยฯ DBSV คงประมาณการกำไรสุทธิ SCC ปี 60 ไว้ที่ 55.9 พันล้านบาท ทรงตัว YoY แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 580 บาท (DCF) หรือเทียบเท่ากับ P/E ปี 60 ที่ 13 เท่า (-0.65SD ของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี)

*** กระจายความเสี่ยง-รุกเข้า CLMV
   นักวิเคราะห์จาก บล.ทรีนีตี้ เปิดเผยว่า การเข้าลงทุนในเวียดนามเป็นไปตามแผนของ SCCอยู่แล้วที่ต้องการขายธุรกิจปูนไปยังตลาดอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV ที่มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ตามขยายโครงสร้างสาธารณูปโภคในประเทศ ในขณะที่ตลาดปูนฯ ในไทยมีทิศทางชะลอตัว ดังนั้น จึงถือว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง และปูทางรายได้จากธุรกิจ
ปูนในอนาคต รอโอกาสที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวและกลุ่ม CLMV เร่งขยายการลงทุน ซึ่งถึงตอนนั้นยอดขายก็น่าจะดีขึ้น
   ข้อดีของการขยายโรงปูน ไปยังต่างประเทศคือ ช่วยลดต้นทุนการขนส่งปูนฯ จากเดิมส่งออกปูนฯ จากไทยไปยังต่างประเทศ ต้นทุนจะสูง แต่หากโรงปูนกระจายในหลายประเทศ ก็จะเพิ่มจุดขนส่งได้มาก ลดต้นทุนขนส่งได้ดี ผลดีจากการเข้าลงทุนครั้งนี้ จะช่วยให้ปริมาณจำหน่ายปูนเพิ่มขึ้น ตามกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้น
   "ตลาดปูนใน CLMV เป็นตลาดที่โตได้ดี ถ้ามองในมุมกระจายความเสี่ยงจะเห็นว่า ธุรกิจปูนในไทยดรอป YoY ราคาขายปูนก็ดรอป แต่ปริมาณการขายในต่างประเทศไปได้ดี บางประเทศโตเป็นเลข 2 หลัก ดังนั้น การเลือกขยายไปต่างประเทศจึงดีกว่า ค่าขนส่งก็ไม่ต้องเ และอัตราการเติบโตก็สูง " นักวิเคราะห์ กล่าว

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com