March 29, 2024   6:23:24 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > BBLเบรกปล่อยกู้JAS-บี้แผนธุรกิจ
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 11/02/2016 @ 08:35:08
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

BBL ยังไม่ยอมปล่อยกู JAS หลังแผนธุรกิจไม่ชัดเจน โยนให้กลับไปทำใหม่ หากต้องการสินเชื่อ 7.56 หมื่นลบ.ไปจ่ายค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz-ลงทุน 4G ด้าน SCB ดึงแบงก์พันธมิตร 4-5 ราย ร่วมออกแบงก์การันตีให้ TRUE ขณะที่"ออมสิน"แย้มปล่อยกู้ร่วม 1 หมื่นลบ. ด้าน กสทช.ยัน TRUE ได้แบงก์การันตี รอฤกษ์มาชำระงวดแรก ส่วน JAS ยังอยู่แค่ขั้นตอนขออนุญาตนำเข้าอุปกรณ์-หารือโปรโมชั่นเท่านั้น

ธนาคารกรุงเทพ ยื่นคำขาดกับ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน) หรือ JAS กลับไปทำแผนธุรกิจมาเสนอ หากต้องการจะขอสินเชื่อวงเงินรวม 7.56 หมื่นลบ. เพื่อทำ 4G ขณะที่ปัจจุบันยังไม่ได้รับการติดต่อจาก JAS แต่อย่างใด ด้านกสทช.ออกมายืนยันว่ามีแต่ทาง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) เท่านั้นที่ได้แบงก์การันตีแล้ว หลังจากธนาคารไทยพาณิชย์ และอีก 4 แบงก์ช่วยออกแบงก์การันตีให้ ขณะที่ทาง JAS ยังอยู่ในแค่ขั้นตอนเรื่องคุยโปรโมชั่นเท่านั้น ชี้หากมาจ่ายเงินงวดแรกไม่ทันวันที่ 22 มีนาคมนี้ จะต้องฟ้องทั้งทางแพ่งและทางปกครอง
ขณะที่วานนี้หุ้นกลุ่มสื่อสารผู้ให้บริการ 4G ทั้ง 4 บริษัทต่างเคลื่อนไหวในแดนบวกเป็นส่วนใหญ่ โดย ADVANC ปิดการซื้อขายที่ระดับ 167.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 บาท หรือ 1.52 % มูลค่าการซื้อขาย 2,237.06 ล้านบาท , DTAC ปิดการซื้อขายที่ระดับ 33.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาท หรือ 4.69% มูลค่าการซื้อขาย 616.60 ล้านบาท , JAS ปิดการซื้อขายที่ระดับ 2.92 บาท เพิ่มขึ้น 0.04 บาท หรือ 1.39% มูลค่าการซื้อขาย 495.41ล้านบาท ขณะที่ TRUE ปิดทรงตัวที่ 6.35 บาท มูลค่าการซื้อขาย 237.93 ล้านบาท

*** BBL สั่ง JAS ทำแผนธุรกิจใหม่ ก่อนขอสินเชื่อ
นายเดชา ตุลานันท์ รองประธานคณะกรรมการบริหาร?ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยถึงกรณี บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน) หรือ JAS ยื่นขอสินเชื่อหลังชนะการประมูล 4G ว่า บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด บริษัทลูกของ JAS ได้ยื่นขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อนำไปชำระค่าใบอนุญาต 4G ที่ผ่านมาทาง JAS ได้ยื่นขอสินเชื่อในวงเงิน 4 หมื่นล้านบาทไปแล้ว 1 ครั้ง และยื่นขออีกครั้งภายหลังชนะการประมูล บนคลื่นความถี่ 900MHz ในวงเงินรวมกว่า 7.56 หมื่นล้านบาท แต่ธนาคารได้ให้บริษัทกลับไปทำแผนธุรกิจเพื่อประกอบการขอสินเชื่อรอบใหม่ แม้ว่าธนาคารสามารถปล่อยได้ในวงเงินดังกล่าวได้ แต่เห็นว่าบริษัทยังไม่มีแผนธุรกิจชัดเจน จึงได้ให้JAS กลับไปทำแผนธุรกิจรอบใหม่ และขณะนี้ ยังไม่พบว่าบริษัทจัดส่งแผนธุรกิจเข้ามา ธนาคารจึงยังไม่ได้อนุมัติสินเชื่อแต่อย่างใด
"ความจริงธนาคารสามารถปล่อยได้สบายในวงเงิน 7 หมื่นล้านบาท แต่เขายังไม่มีแผนที่ชัดเจน ดังนั้นธนาคารจึงต้องรอดูแผนธุรกิจของทางJAS ก่อนว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน" นายเดชา กล่าว

*** กูรูแบงก์ แนะ JAS ควรหาพันธมิตร - เพิ่มทุนแบบเร่งด่วน
แหล่งข่าวจากธนาคารจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ได้วิพากษ์ถึงกรณีของ JAS ว่า เดิม JAS ดำเนินธุรกิจบรอดแบรนด์ การขยายธุรกิจสู่ธุรกิจโมบาย มองว่าอาจจะเป็นความเสี่ยง เนื่องจากบริษัทไม่มีความถนัด และทางJAS ควรเร่งหาพันธมิตรเข้ามาเสริมเรื่องแหล่งเงินทุน หรือใช้แนวทางการเพิ่มทุนประกอบ และควรจะต้องมีแผนธุรกิจที่ชัดเจนมากกว่านี้ เนื่องจากเป็นวงเงินระดับสูง JAS เองไม่มีความชำนาญ กลายเป็นความเสี่ยงที่ทางธนาคารพาณิชย์จะแบกรับได้

***SCB ดึงแบงก์ 4-5 ราย ออกแบงก์การันตีให้ TRUE
นายญนน์ โภคทรัพย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB เปิดเผยว่า ธนาคารได้ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ 4-5 แห่งในการให้แบงก์การันตีกับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน) หรือ TRUE สำหรับการจ่ายค่าใบอนุญาต 4G คลื่น คลื่น 900MHz งวดแรก โดยธนาคารเป็นผู้นำในการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มทรู
โดยล่าสุดได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารแล้ว และหากในอนาคต TRUE ต้องการวงเงินในการขยายธุรกิจ ธนาคารก็พร้อมสนับสนุน
ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน กล่าวว่า TRUE ได้เข้ามาขอสินเชื่อสำหรับการประมูลคลื่น 900 MHz โดยในขณะนี้ธนาคารได้ให้บริษัทส่งแผนการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติม เพื่อส่งเข้าคณะกรรมการพิจารณาต่อไป โดยวงเงินเบื้องต้นไม่เกิน 10,000 ล้านบาท คาดว่า TRUE จะส่งเรื่องกลับมาภายในเดือน ก.พ.นี้

*** กสทช.ยัน TRUE ได้แบงก์การันตีแล้ว ส่วน JAS ยังแค่คุยเรื่องโปรโมชั่น
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ สำนักงานกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ได้ยืนยันว่าบริษัทได้แบงก์การันตีแล้ว และจะมีหนังสือแจ้งกับกสทช.อย่างเป็น ทางการ ในการเข้าชำระเงินประมูลคลื่น 900 MHz งวดแรกพร้อมแบงก์การันตี
"เชื่อว่าทางทรูจะรอฤกษ์ อย่างไรก็ดี มีเวลารอถึงวันที่ 21 มีนาคม...ความเคลื่อนไหวของ 2 ค่ายติดต่อเรามาตลอด"เลขา กสทช. กล่าว
ส่วน ทาง JAS ได้ติดต่อทางสำนักงานกสทช. โดยได้ขอนำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคม การนำเสนอการคิดโปรโมชั่น อย่างไรก็ตาม หากถึงวันที่ 22 มี.ค.59 รายใดไม่จ่ายเงินประมูลถือว่าสิทธิต่างๆสิ้นสุดลง และจะ ฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและทางปกครองที่จะเพิกถอนใบอนุญาตอื่นที่กสทช.ให้ ใบอนุญาตไปก่อนหน้า
ส่วนกรณีบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ใน เครือบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือเอไอเอส เดินทางเข้ายื่นหนังสือเร่ง รัดดำเนินการตรวจสอบวิธีการให้บริการคงสิทธิเลข หมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อสำนักงาน กสทช.เพื่อ ติดตามถึงความคืบหน้ากรณีที่ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และบริษัท เรี ยล มูฟ จำกัด ในกลุ่ม TRUE ได้มีการให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านช่องทาง สะดวกซื้อ ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศนั้น ในการประชุมคณะกรรมการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กทค.) จะพิจารณาในวันที่ 16 ก.พ.นี้ โดยทางทรูมูฟเอช ชี้แจงว่าดำเนินการโอนย้าย เลขหมายถูกต้องตามกฎหมายตามพ.ร.บ.ธุรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือว่ามีอำนาจเหนือกว่า ประกาศของกสทช.

*** โบรกฯ เพิ่มน้ำหนักหุ้น ICT มอง ADVANC ไม่เสียหายอย่างที่คาด
บทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส ล่าสุดเปิดเผยว่า เตรียมปรับเพิ่มน้ำหนักหุ้น ICT เป็นเท่าตลาด นักวิเคราะห์ ASPS เตรียมปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้น ICT จากเดิมที่น้อยกว่าตลาด เป็นเท่ากับตลาด ทั้งนี้ภาพธุรกิจมีความชัดเจนมากขึ้นอย่างน้อยใน 2 เรื่องคือ
1. คลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูลมิได้ขาดแคลนอย่างที่ตลาดกลัว กล่าวคือ คาดว่าจะมีคลื่น 2600 ที่เป็นของ MCOT ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 144 MHz จะถูกนำออกมาประมูลบางส่วนคือ ราว 60 MHz ในปี 2560 (แต่จะครบกำหนดในปี 2575 ซึ่ง กสทช ต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับ MCOT) ซึ่งจะดีต่อ DTAC ที่เดิมคาดว่าจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากมีคลื่นภายใต้ใบอนุญาตน้อยสุด และ ตามมาด้วย ADVANC
2. ผู้ที่ชนะประมูลคลื่น 900 MHz ยังมิอาจจะสรุปจะเป็นผู้ชนะ เพราะการแย่งชิงลูกค้าเดิมของ ADVANC ที่อยู่บนคลื่น 900 MHz ซึ่งค้างอยู่กว่า 12 ล้านราย คิดเป็นรายได้ต่อปี 2.0 หมื่นล้านบาท ขณะนี้ ADVANC ยังมีเวลาในการโยกย้ายลูกค้ากลุ่มนี้มายังคลื่น 3G จนกว่าผู้ชนะประมูลทั้ง 2 ราย (TRUE, JAS) จะนำเงินค่าประมูลงวดแรกจ่ายให้ กสทช ซึ่งกำหนดเส้นตายวันที่ มี.ค. 2559 (ซิมดับ) ขณะเดียวกัน ADVANC ได้เช่าเสา และ เครือข่าย 900 MHz ที่โอนให้กับ TOT ก่อนสัมปทานสิ้นสุด ทำให้เป็นอุปสรรคที่ TRUE จะดึงลูกค้าส่วนนี้ไปจาก ADVANC ขณะเดียวกัน ADVANC มีแผนการตลาด เช่น แจกเครื่องลูกข่ายแก่ลูกค้าที่ยังอยู่ที่ 2G ให้โอนมา 3G ฟรี สิ่งเหล่านี้ทำให้ ADVANC อาจจะสูญเสียลูกค้ากลุ่มนี้น้อยกว่าคาด (ASPS คาดไว้ 7 ล้านราย หรือ ราว 40% ของ 2 หมื่นล้านบาท)

*** คาดปี 59-60 JAS ขาดทุนรวม 9.2 พันลบ.
บทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส ยังเปิดเผยต่อว่า ทั้งนี้หลังจากที่หุ้น ICT ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วนับจากการ ประมูลคลื่น 4G (1800 MHz ต้นทุนเกิน 4.0 หมื่นล้านบาท (TRUE,ADVANC), และ 900 MHz ต้นทุนเฉลี่ย 7.5 หมื่นล้านบาท (TRUE, JAS)) เสร็จสิ้นในเดือน ธ.ค. พบว่าต้นทุนค่าประมูล สูงกว่าสมมติฐานมาก (นักวิเคราะห์ ASPS ประเมินไว้ 2 หมื่นล้านบาท เทียบกับคลื่น 3G 1800 MHz ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท) ทำให้
นักวิเคราะห์ ASPS มีการปรับลดประมาณการปี 2559 ลงจากเดิม 35% และ ปรับลดปี 2560 ลงอีก 25%
โดย TRUE ถูกปรับลดลงมากสุด (เป็นขาดทุนปีละ 9 พันล้านบาท จากเดิมที่คาดว่าจะมีกาไร) JAS ปรับลดลง 183% ในปี 2559 และ ลดลง 262% ปี 2560(เป็นขาดทุน 3.6 พันล้านบาท และ ขาดทุน 5.6 พันล้านบาท จากเดิมที่คาดว่าจะมีกำไร 4.3 พันล้านบาท และ 3.5 พันล้านบาท) และADVANC ปรับลดลง 26% และ ลดลง 24% ตามลำดับ
ขณะที่ DTAC ที่ยังคงประมาณการเดิม เพราะยังไม่ได้ใบอนุญาตใหม่ จึงยังคงต้องให้บริการภายใต้สัมปทานเดิม 55 Mhz และใบอนุญาต 3G 15 MHz (ภายใต้คลื่น 1800 MHz) โดยมีต้นทุนคงที่(ประกอบด้วย ค่าสัมปทานเดิม มีส่วนแบ่งรายได้ 30% กับค่าใบอนุญาต 2100 MHz +ใบอนุญาตจะมีส่วนแบ่งรายได้ 5.25%) เฉลี่ย20% ของรายได้รวม ซึ่งยังต่ำกว่าของ TRUE ที่เฉลี่ยสูงถึง 27% (หลังรวมทุกคลื่น) และ JAS เฉลี่ย 5 ปีอยู่ที่ 110% ขณะที่ADVANC เฉลี่ยต่ำสุดเพียง 10.95% ทั้งนี้ต้นทุนคงที่ยังไม่รวมการลงทุนในโครงข่ายที่แต่ละรายต้องลงทุนเฉลี่ย 2-3 หมื่นล้านบาทซึ่ง ADVANC เป็นผู้ที่มีกระแสเงินสด (CFO) สูงสุดปีละ 5 หมื่นล้านบาท จึงมีความพร้อมที่สุดทั้งการลงทุนโดยรวม และยังยืนยันการจ่ายเงินปันผลได้ที่ 100%
ล่าสุดนักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่ม Fair Value ขอ ADVANC ขึ้นจากเดิม 165 บาท เป็น 187 บาท ขณะที่DTAC(FV@B40) ได้ประกาศลดการจ่ายเงินปันผลลงเหลือ 50% จากเดิมที่จ่ายได้เฉลี่ย 100% เนื่องจากต้องเตรียมความพร้อมในการลงทุน ซึ่งเราเห็นด้วยกับ DTAC เพราะต้นทุนของผู้ถือหุ้น (ROE) เฉลี่ย 20% ปี 2558 แม้จะลดลงเหลือ 13% ในปีนี้ แต่ยังสูงกว่าเงินกู้ยืมเฉลี่ย 4% จึงยังชื่นชอบ ADVANC และ DTAC เชื่อเป็นผู้ที่ยังมีศักยภาพในการทำกำไรและจ่ายเงินปันผลได้ในระยะยาว3

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com