April 23, 2024   4:42:42 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ลุ้น JWD ลุยไฟกระดานเดือด
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 29/09/2015 @ 08:31:43
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ลุ้น JWD ลุยไฟกระดานแดงเดือด 29 ก.ย. ผู้บริหารเชื่อราคาไอพีโอ 11 บาท นักลงทุนตอบรับดี เหตุยังต่ำกว่าราคาเหมาะสมที่ 13.60-14.20 บาท เร่งรุกธุรกิจโลจิสติกส์ภาคพื้นดินแบบครบวงจร ผุดคลังสินค้าในประเทศเพื่อนบ้าน หนุนเป็นผู้นำธุรกิจโลจิสติกส์ใน AEC ฟากหุ้นไก่ TFG ยอมรับภาวะตลาดแย่ นักลงทุนสถาบันกดราคาไอพีโอเหลือแค่ 1.95 บาท จากช่วง 2.10-2.30 บาท พร้อมลดจำนวนหุ้นเหลือ 1,100 ล้านหุ้น จาก 1,400 ล้านหุ้น เตรียมลงสนามเทรด 8 ต.ค. นี้ ส่วน SCI เล็งเคาะราคาไอพีโอปลายสัปดาห์นี้ จากช่วงราคา 5.50-6 บาท ก่อนเข้าเทรด SET กลางเดือน ต.ค. แย้มปิดดีลพันธมิตร บจ.ลุยพลังงานลม 45 MW ในปีนี้

หุ้นไทยเกิดภาวะ Black Monday อีกครั้ง เมื่อดัชนีฯทรุดปิดระดับต่ำสุดของวัน 1,352.13 จุด ลดลง 24.70 จุด หรือ 1.79% ด้วยมูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 2.85 หมื่นล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิอีก 2,087 ล้านบาท
ขณะที่นักวิเคราะห์คาด แนวโน้มดัชนีฯแกว่งตัวลงต่อเนื่อง หลังหลุดแนวรับสำคัญ 1,360 จุด และยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามาหนุนตลาดฯ
ดังนั้นการซื้อขายวันแรกของหุ้นน้องใหม่ตัวสุดท้ายของเดือน ก.ย.นี้ คือ บมจ.เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ หรือ JWD จึงยังต้องลุ้นอย่างหนักพอสมควร ว่าจะยืนเหนือราคาจอง 11 บาท ได้มากน้อยแค่ไหน
รวมไปถึงไอพีโอที่จ่อคิวขายและเข้าเทรดอย่าง บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป หรือ TFG และ บมจ.เอสซีไอ อีเลคตริค หรือ SCI ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะตลาดที่ปรับตัวลดลง

**ตลท.รับหลักทรัพย์ JWD เทรด 29 ก.ย.
ดร.สันติ กีระนันทน์ รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บมจ. เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ (JWD) จะเข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในกลุ่มบริการ หมวด ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ในวันที่ 29 กันยายน 2558 โดย JWD ดำเนินธุรกิจให้บริการทางด้าน โลจิสติกส์ภายในประเทศ (In-land Logistics) อย่างครบวงจร ครอบคลุมการให้บริการรับ ฝาก บริหารสินค้าบนพื้นที่ทั่วไปและเขตปลอดอากร ขนส่งสินค้าในประเทศและข้ามแดน ขนย้ายใน ประเทศและต่างประเทศ และจัดการเอกสารและข้อมูลธุรกิจด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มี ประสิทธิภาพ เพื่อให้บริการที่รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของลูกค้า JWD มีทุนชำระแล้ว 300 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 480 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่ม ทุน120 ล้านหุ้น โดยเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนทั้งจำนวนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) เมื่อวันที่ 21-23 กันยายน ในราคาหุ้นละ11 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุน 1,320 ล้านบาท มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 6,600 ล้านบาท
โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทาง การเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
หลัง IPO
ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ JWD 3 ลำดับแรก ได้แก่ กลุ่มนายชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ถือหุ้น 50.44% กลุ่มนายจิตชัย นิมิตรปัญญา ถือหุ้น 18.24% และ Mindo Asia Investments Limited ถือหุ้น 4.00%
การกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อ หุ้น (P/E ratio) ที่ 34.79 เท่า โดยคำนวณจากกำไรสุทธิในช่วง 4 ไตรมาสล่าสุด (ไตรมาส 3 ปี 2557 ถึงไตรมาส 2 ปี 2558) หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ (fully diluted) คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 0.32 บาท ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผล ไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้และเงินสำรองต่างๆ ตามกฎหมายจากงบการเงิน เฉพาะกิจการ

** 4 โบรกฯให้ราคาเหมาะสม 13.60-14.20 บ.
นายชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JWD มั่นใจว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน โดยราคาไอพีโอที่ 11 บาท ถือว่าต่ำกว่าราคาเหมาะสมโดยบทวิเคราะห์จากวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ 4 ราย ได้แก่ บล.กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บล.เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) บล.ไทยพาณิชย์ จำกัดและ บล.ทิสโก้ จำกัด มีมุมมองต่อทิศทาง การดำเนินงานของ JWD ในปี 2558-2560 จะเติบโตต่อเนื่อง โดยมีความสามารถทำกำไรขั้นต้น มากกว่า 40% จากรายได้บริการรับฝากสินค้าควบคุมอุณหภูมิแช่เย็นและแช่แข็ง ยานยนต์และสินค้า อันตรายที่เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตได้อย่างโดดเด่น ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปี ละ 17% และ 14% ตามลำดับ
ขณะเดียวกันยังมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนก่อสร้างคลังสินค้าทั่วไป และคลัง สินค้าควบคุมอุณหภูมิแช่เย็นและแช่แข็งที่ประเทศเมียนมาร์ สปป.ลาวและกัมพูชา ซึ่ง JWD ถือเป็นผู้ประกอบการรายแรกๆ ที่เข้าไปรุกตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างจริงจัง จึงมีแนวโน้มจะ ได้รับประโยชน์จากความต้องการบริการด้านโลจิสติกส์และคลัง สินค้าที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
จึงได้ประเมินราคาที่เหมาะสม (Fair Value) ของหุ้น JWD ในปี 2558-2559 ไว้ที่ 13.60-14.20 บาท โดยคำนวณจากวิธีคิดส่วนลดกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow : DCF) และอัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E Ratio) ในปีนี้ที่ 22.5-23 เท่า ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมเดียวกันที่มีค่า P/E สูงถึง 34 เท่า

** รุกโลจิสติกส์ AEC เต็มสูบ
นายชวนินทร์ กล่าวว่า บริษัทฯ จะนำเงินส่วนหนึ่งที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ ไปขยายคลังสินค้าในไทยและต่าง ประเทศ ส่วนที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทฯ ต่อไป ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างดำเนิน การก่อสร้างคลังสินค้าทั่วไปและคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ สำหรับสินค้าแช่เย็นและแช่แข็งในประเทศ เมียนมาร์ สปป.ลาวและกัมพูชา พื้นที่รวม 6,490ตารางเมตร เพื่อรองรับธุรกิจค้าปลีกด้านอาหารที่ กำลังเติบโต จะแล้วเสร็จในไตรมาส 2/2559
ส่วนในประเทศไทยได้ดำเนินการปรับปรุงคลังสินค้า เดิมในเขตพื้นที่ท่าเรือแหลม ฉบัง ให้เป็นศูนย์เก็บและกระจายสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ มีพื้นที่ 9,000 ตารางเมตร พร้อมพัฒนาพื้นที่ศูนย์เก็บและกระจายสินค้าอันตรายเพื่อใช้แยกและกระจาย สินค้าลงในรถขนส่งขนาดเล็ก ขนาดพื้นที่ 6,000 ตารางเมตร โดยทั้ง 2 โครงการจะเริ่มให้ บริการในไตรมาส 1/2559
"เรามีองค์ความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 35 ปี ด้วยจุดแข็งทางธุรกิจที่ มีการนำเทคโนโลยีด้านซอฟแวร์ที่มาจากการพัฒนาของ บริษัทฯ ในเครือ เข้ามาใช้ในการบริหาร จัดการด้านคลังสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้เรามีขีดความสามารถด้านการให้บริการ โลจิสติกส์ที่เหนือกว่าคู่แข่ง พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยังมีความพร้อมและศักยภาพในการก้าวไปสู่ผู้นำด้าน โลจิสติกส์ในอาเซียน ด้วยการเข้าไปลงทุนก่อสร้างคลังสินค้าในประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงเรายัง แสวงหาโอกาสในการขยายธุรกิจเพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้วยการร่วม ทุนหรือควบรวมกิจการกับ พันธมิตร เพื่อให้เราก้าวสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้" นายชวนินทร์ กล่าว
นายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะ ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจ โลจิสติกส์ในไทยและอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องหลังไทย ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอา เซียน (AEC) ช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะมีการเชื่อมโยงการค้าการลงทุนที่กระตุ้นให้เกิดการขยายฐานการ ผลิตใน ภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์และ เวียดนาม) ที่ผู้ประกอบการไทยและต่างชาติเข้าไปลงทุนเพื่อใช้เป็นฐานการผลิต ซึ่งจะส่งผลดีต่อ ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในภูมิภาคนี้และเป็นโอกาสของ JWD ในการเข้าให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อผลัก ดันการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง
JWD ดำเนินธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ภาคพื้นดินมากว่า 35 ปี โดยมีบริการแบ่งเป็น 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่
1.บริการรับฝากและบริหารสินค้า ครอบคลุมสินค้าทั่วไป สินค้าอันตราย ยานยนต์และส่วนประกอบและสินค้าควบคุมอุณหภูมิแช่เย็นและแช่แข็ง
2.ธุรกิจรับขนส่ง สินค้าในประเทศและขนส่งสินค้าข้ามแดน
3.ธุรกิจรับขนย้ายในประเทศและต่างประเทศเจาะกลุ่ม บุคคลและองค์กร
4.ธุรกิจให้บริการรับฝากเอกสารและจัดการข้อมูล
และ 5.ธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ ให้ เช่าอาคารและคลังสินค้า รวมถึงให้บริการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยมีจุดแข็งที่เป็นผู้ ประกอบการรายเดียวที่ได้รับสัมปทานให้บริการรับ ฝากและบริหารสินค้าอันตรายในเขตพื้นที่ท่าเรือ แหลมฉบังนาน 30 ปี จึงทำให้สินค้าอันตรายที่ผ่านเข้า-ออกท่าเรือแหลมฉบัง จะต้องผ่านคลังสินค้า อันตรายของบริษัทฯ เท่านั้น

** TFG หั่นราคาไอพีโอ-ลดจำนวนหุ้น
นายชัยภัทร ศรีวิสารวาจา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่าย และรับประกันการจำหน่ายหุ้นบริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TFG เปิดเผยว่า บริษัทฯได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ของ TFG ที่ 1.95 บาท มีส่วนลดให้แก่นักลงทุน 40% จากราคาเหมาะสมที่ 3.30 บาท
โดยจะเปิดให้จองซื้อในวันที่ 29 ก.ย-2 ต.ค.58 จำนวน 1,100 ล้านหุ้น ต่ำกว่าเดิมซึ่งคาดจะเสนอขาย 1,400 ล้านหุ้น และคาดว่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ในวันที่ 8 ต.ค.58 เงินที่ได้จากการระดมทุน ส่วนหนึ่งบริษัทฯ จะนำไปไปชำระหนี้สถาบันการเงิน ซึ่งจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นลดลงเหลือ 1.6 เท่า
นายวิณห์ ธนิตติราภรณ์ กรรมการผู้จัดการ TFG เปิดเผยว่า สาเหตุที่บริษัทฯ ปรับลดจำนวนหุ้นไอพีโอลง เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะตลาดโดยรวมที่ยังไม่ค่อยดีนัก ซึ่งก่อนหน้านั้น บริษัทฯ มีแผนเสนอขาย 1,400 ล้านหุ้น และช่วงราคาจากการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ของนักลงทุนสถาบัน (Book-Building)อยู่ที่ 2.10-2.30 บาท
" ภาวะตลาดไม่ดี และช่วงราคาเดิมอยู่ที่ 2.10-2.30 บาท แต่ตอนนั้นเกิดระเบิดราชประสงค์ จากนั้นดัชนีตลาดหุ้นปรับลง เลยต้องปรับจำนวนหุ้นและราคาขายลง ให้สอดคล้องกับภาวะตลาด" นายวิณห์ กล่าว
สำหรับช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ บริษัทฯ มีผลขาดทุนสะสม 798.71 ล้านบาท และคาดว่าจะล้างขาดทุนสะสมได้หมดในปีหน้า โดยใช้กำไรจากการดำเนินงาน
นายวิณห์ คาดว่ารายได้ปี 59 จะโต 20-30% จากปีนี้ที่คาดทำได้ใกล้เคียงปี 57 ที่มีรายได้ 1.7 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะพลิกมีกำไรในปี 59 เนื่องจากราคาหมูและไก่ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังปริมาณขายในตลาดมีน้อยลง เนื่องจากสหรัฐ ห้ามนำเข้าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไก่หลังจากเกิดโรคระบาด นอกจากนี้ บริษัทฯ จะมีการแปรรูปอาหารมากขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าการขายสินค้า และมีแผนขยายส่งออกเพิ่มเป็น 15% ในประเทศญี่ปุ่น ยุโรป จากปี 58 ที่ 10%
" ในไตรมาส 3/58 คาดว่าบริษัทฯ ยังมีผลขาดทุนอยู่ และจะเริ่มพลิกมีกำไรในไตรมาส 4/58 เพราะราคาขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากราคาหมู ไก่ ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในไตรมาส 1 และ 2 แต่ทั้งปี 58 ก็ยังมีผลขาดทุนอยู่ จากงวด 6 เดือนแรกที่ขาดทุนอยู่ที่ 928 ล้านบาท ส่วนขาดทุนสะสม 6 เดือนแรก 798 ล้านบาท คาดว่าจะล้างขาดทุนสะสมได้หมดปีหน้า โดยใช้กำไรมาล้างขาดทุนสะสม"

** SCI เตรียมเคาะราคาปลายสัปดาห์นี้
นายวิชา โตมานะ กรรมการผู้จัดการ สายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท เอสซีไอ อีเลคตริค จำกัด (มหาชน) หรือ SCI เปิดเผยว่า จะสรุปราคาขายหุ้น IPO ของ SCI ได้ในปลายสัปดาห์นี้ จากการสำรวจความสนใจจองซื้อจากนักลงทุนสถาบัน (Book Building) ซึ่งได้กำหนดช่วงราคาเสนอขายไว้ที่ 5.50-6 บาท จากนั้นคาดว่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (SET) ในช่วงกลางเดือน ต.ค. โดยช่วงราคา IPO ดังกล่าวมี P/E ประมาณ 12 เท่า มีส่วนลดจาก P/E กลุ่มพลังงานที่ 25 เท่า
ทั้งนี้ SCI จะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 187.5 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1.00 บาท แบ่งเป็นเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป 178.12 ล้านหุ้น เสนอขายแก่ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ จำนวน 9.37 ล้านหุ้น
ด้านนายเกรียงไกร เพียรวิทยาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCI กล่าวว่า เงินที่ได้จากการขายหุ้น IPO จะนำไปชำระคืนเงินกู้สถาบันการเงิน นำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในโครงการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า (PDSR) เฟส 2 ในลาว มูลค่าโครงการ 67 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะเริ่มต้นโครงการได้ประมาณไตรมาส 4/58 และรับรู้รายได้ทันทีในปี 59 ส่งผลให้ปีหน้ารายได้รวมของ SCI จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10% จากปีนี้ที่คาดว่ารายได้จะใกล้เคียงปีก่อนที่ 2,800 ล้านบาท
นอกจากนี้ จะลงทุนในโรงงานผลิตเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงและเสาโทรคมนาคมในเมียนมา โดยร่วมทุนกับพันธมิตร ซึ่งมีสัดส่วนลงทุนไม่น้อยกว่า 40% มูลค่าลงทุนทั้งหมด 26 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโรงงานได้ในปี 2559
“การขยายการลงทุนในลาวและเมียนมาร์ในครั้งนี้ ถือเป็นการขยายตลาดในเออีซี ที่เรามองว่าทั้งสองประเทศนี้มีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก ทั้งในส่วนของลาวที่มีเป้าหมายเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ขณะที่เมียนมาร์ ก็เพิ่งมีการเปิดประเทศ คาดว่าจะช่วยผลักดันรายได้และกำไรของบริษัทให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต” นายเกรียงไกรกล่าว
นอกจากนี้ บริษัทจะนำเงินบางส่วนไปลงทุนในโรงงานไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทย แถบภาคอีสาน ขนาด 45 เมกะวัตต์ โดยร่วมทุนกับพันธมิตรซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียน ที่ได้ใบอนุญาตขายไฟ (PPA) แล้ว ในระบบ Adder 3.50 บาท โดย SCI จะถือหุ้นในโครงการดังกล่าว คาดว่าจะสรุปภายในปีนี้ ใช้เงินลงทุนประมาณ 3.7 พันล้านบาท ซึ่งจะเริ่มลงทุนในปีหน้า และกำหนดจ่ายไฟ (COD )ในปี 2562
สำหรับผลการดำเนินงานของ SCI ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 55-57) บริษัทมีรายได้จากการขายและการให้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเท่ากับ 1,443.67 ล้านบาท 2,175.81 ล้านบาท และ 2,808.60 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตในปี 56 จำนวน 50.71% เมื่อเทียบกับปี 55 และคิดเป็นอัตราการเติบโตในปี 57 จำนวน 29.08% เมื่อเทียบกับปี 56 ตามลำดับ ขณะที่กำไรสุทธิสำหรับปี 55-57 เท่ากับ 65.29 ล้านบาท 171.29 ล้านบาท และ 326.51 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนงวด 6 เดือนแรกของปี 58 บริษัทมีรายได้จากการขายและการให้บริการเพิ่มขึ้น 14.42% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 143.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 81.33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปัจจุบันโครงสร้างรายด้ของ SCI ประกอบด้วย งานโครงเหล็กและชุบกัลวาไนช์ 47% , บริการงานโครงการ 36% , ผลิตตู้สวิทช์บอร์ด 16% และโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ 2-3%


 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com