April 25, 2024   8:58:29 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > THCOM-BTS-IRPCแจ่ม-ไม่หวั่นศก.ทรุด
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 20/07/2015 @ 08:27:33
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

โบรกเกอร์เชียร์ลงทุน THCOM-BTS-IRPC ชี้มีภูมิคุ้มกันสูงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หลังคาดจีดีพีปีนี้เสี่ยงโตต่ำกว่า 3% ระบุ THCOM กำไร Q2/58 สดใส แนวโน้มธุรกิจยังไปได้สวย หลังอัตราใช้งานไทยคม 7 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วน BTS ปันผลดี แถมรับประโยชน์ หลังรฟม.ยกรถไฟฟ้าสายเขียวเหนือและใต้ให้กทม.ดูแล ส่วน IRPC คาดกำไรไตรมาส 2 ทำนิวไฮ พร้อมปรับเพิ่มประมาณการกำไรปีนี้ขึ้น 20.9% มองกลุ่มแบงก์-บันเทิง-ส่งออก-พลังงาน-เดินเรือ เสี่ยงถูกหั่นประมาณการกำไร

* กูรูแนะ THCOM-BTS-IRPC ชี้มีภูมิคุ้มกันสูงจาก ศก.ชะลอตัว
บล.เอเซียพลัส ระบุว่าแม้ตลาดหุ้นโลกจะได้รับ Sentiment เชิงบวกจากปัญหากรีซที่ผ่อนคลาย แต่เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากปัญหาภัยแล้ง และความเสี่ยงต่อการปรับลดประมาณการกำไรตลาดที่ยังมีอยู่ ยังเลือกหุ้นที่ภูมิคุ้มกันสูงจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว THCOM(FV@B51), BTS(FV@B12) และเลือก IRPC(FV@B5.8) เป็น Top pick เช่นเดิมตลาดหุ้นโลกตอบรับ แผนช่วยเหลือกรีซ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังส่งสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยวานนี้มีการรายงานตัวเลขด้านแรงงาน พบว่ายังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง กล่าวคือ ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ สิ้นสุด 11 ก.ค. ลดลง 1.5 หมื่นราย อยู่ที่ 2.81 แสนราย นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบกว่า 1 เดือน และลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดว่าจะอยู่ที่ 2.85 แสนราย (ต่ำกว่าระดับ 3 แสนรายติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 19 ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2543) อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาณความขัดแย้งในภาคการผลิต โดย Fed สาขาฟิลาเดลเฟีย รายงานดัชนีภาคการผลิตเดือน ก.ค. ลดลงสู่ระดับ 5.7 จาก 15.2 (ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของปีนี้) และลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 12 แม้ดัชนียังคงอยู่สูงกว่า 0 ซึ่งบ่งชี้ว่ายังมีการขยายตัวแต่การลดลงมากกว่าคาด ยังเป็นสิ่งที่น่ากังวลถึงเสถียรภาพของเศรษฐกิจสหรัฐ
ด้วยเหตุนี้ทำให้การแถลงการต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาสหรัฐ ของนางเจเน็ต เยลเลน ยังคงยืนยันในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ แม้จะยังมีความกังวลต่อปัจจัยภายนอก ทั้งในเรื่องของปัญหาในกรีซ และจีน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่ยังต่ำกว่าเป้าหมายอยู่ก็ตาม อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ ตลาดน่าจะรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง จากนี้ไปคงต้องติดตามว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยในอัตราเท่าไร มากหรือน้อยกว่าตลาดคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตลาดมากกว่า
ส่วนการเจรจาปัญหาหนี้กรีซลุล่วงมามากกว่าครึ่งทางแล้ว หลังจากที่วานนี้การประชุมของสหภาพยุโรป (EU) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติอนุมัติเงินช่วยเหลือแก่กรีซ เริ่มจาก ECB ได้เพิ่มวงเงินช่วยเหลือฉุกเฉินให้แก่ธนาคารกรีซ (ELA) อีก 900 ล้านยูโร รวมเป็น 9 หมื่นล้านยูโร เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งคาดว่าน่าจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ในกรีซสามารถกลับมาเปิดทำการได้ในวันจันทร์หน้า (20 ก.ค.) ขณะที่ EU เตรียมอนุมัติเงินกู้ระยะสั้น วงเงิน 7 พันล้านยูโร (7.6 พันล้านเหรียญ) ในวันที่ 20 ก.ค. ซึ่งครบกำหนดที่กรีซจะต้องชำระหนี้ 3.5 พันล้านยูโรให้แก่ ECB และชำระหนี้ที่ค้างกับ IMF ขณะที่เงินช่วยเหลือก้อนใหม่ 8.6 หมื่นล้านยูโร ระยะเวลา 3 ปี จะได้รับการอนุมัติหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้ายของรัฐสภาเยอรมันในวันนี้ โดยสรุป การให้ความช่วยเหลือกรีซน่าจะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันต่อ เศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลก แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าผลดีต่อตลาดหุ้นไทยน่าจะจำกัด จากเหตุผลของปัญหาในประเทศเอง โดยจะกล่าวในย่อหน้าถัดไปตลาดหุ้นไทยยังคงถูกกดดันจากภัยแล้ง และการส่งออกชะลอตัว

* คาดจีดีพีมีความเสี่ยงโตต่ำกว่า 3%
ผลกระทบจากการปรับลด GDP ภาคเกษตร คาดว่าน่าจะทำให้ GDP รวมของทั้งประเทศ ลดลงถึง 0.4–0.5% ได้ (อ้างอิงจากประมาณการของ สศค. ที่คาดว่า GDP รวมจะลดลง 0.15% หากการเติบโตของภาคเกษตรลดลงจากขยายตัว 2.5-3% เหลือเพียง 1.4% โดยยังต้องติดตามการปรับประมาณการ GDP ของทาง สศค. ที่จะแถลงในสิ้นเดือนนี้ เช่นเดียวกับทางธนาคารแห่งประเทศไทยที่อาจมีการปรับลด GDP Growth ลงจากประมาณการเดิมที่ 3% เนื่องจากผลกระทบจากภัยแล้ง สอดคล้องกับมุมมองซึ่งกำลังอยู่ในช่วงพิจารณา เช่นเดียวกับ ASPS ที่มองว่า GDP Growth ปีนี้น่าจะโตได้ที่ 2.5% (ตามการคำนวณแบบเดิม)
นอกจากนี้ผลกระทบจากภัยแล้งไม่ได้กระทบเพียง GDP Growth แต่จะกระทบถึงอัตราเงินเฟ้อที่น่าจะปรับตัวสูงขึ้นจากราคาสินค้าเกษตรเช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน น่าจะส่งผลสะท้อนไปที่ราคาสินค้าในตะกร้าอัตราเงินเฟ้อ อย่างอาหารสด (ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ไก่) ซึ่ง ASPS คาดว่าหากภัยแล้งสิ้นสุดที่เดือน ก.ค. ดัชนีราคาอาหารสดจะเพิ่มขึ้น 0.5% และถ้าสิ้นสุดในเดือน ก.ย. จะทำให้ดัชนีราคาอาหารสดปรับตัวขึ้น 0.75% ซึ่งส่วนนี้จะทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 1.17-1.5% ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบที่ 58 เหรียญฯต่อบาร์เรล ทั้งนี้ GDP Growth ที่มีแนวโน้มขยายตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ และอัตราเงินเฟ้อที่จะปรับตัวขึ้น หากทาง กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะทำได้อีก 1 ครั้ง (ลด 0.25%) โดยปลายปีอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะอยู่ที่ 1%

* THCOM กำไร Q2/58 สดใส อัตราใช้งานไทยคม 7 พุ่ง
บทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส ระบุว่า แนวโน้ม 2Q58 ผลประกอบการ THCOM สดใส แม้คาดรายได้ขายและบริการทรงตัวจากงวด 1Q58 ที่ 3.08 พันล้านบาท โดยรายได้จากดาวเทียมใหม่ไทยคม 7 (เริ่มบริการ พ.ย. 57) ที่เพิ่มตามอัตราใช้งานที่ขยับเป็น 60% ณ สิ้นสุด 2Q58 จาก 50% ใน 1Q58 มีแนวโน้มถูกหักล้างจากรายได้ขายอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมลดลงทั้งหมด แต่อัตรากำไรการบริการที่สูงกว่าการขาย คาดหนุนอัตรากำไรขั้นต้นงวด 2Q58 ขยับขึ้นเป็น 40.2% จาก 39.5% ใน 1Q58 อีกทั้งยังมีปัจจัยบวกจากค่าใช้จ่ายขายบริหารคาดลดลง 2.8%qoq ตามนโยบายควบคุมรายจ่าย โดยรวมเชื่อว่ากำไรปกติงวด 2Q58 เพิ่มขึ้น 11.3%qoq มาที่ 518 ล้านบาท (+1.5%yoy) แต่กำไรสุทธิมีแนวโน้มลดลง 2.8%qoq มาที่ 524 ล้านบาท (+5.4%yoy) เนื่องจากกำไรพิเศษใน 2Q58 จะลดลงเหลือ 6 ล้านบาท (คาดมีกำไรจากการขายเงินลงทุนบริษัท SYNERTONE ในจีน 210 ล้านบาท (ได้หุ้นมาพร้อมกับตอนขายกำลังให้บริการดาวเทียม iPSTAR ทั้งหมดในจีนให้ 2 ปีก่อน) สุทธิกับที่คาดว่าจะมีขาดทุน FX 204 ล้านบาท เพราะบาทต่อดอลลาร์อ่อนค่า ทำให้หนี้ดอลลาร์แปลงเป็นบาทแล้วเพิ่มขึ้น) จาก 74 ล้านบาทใน 1Q58 (กำไร FX)
แม้คาดกำไรปกติ 1H58 คิดเป็นเพียง 47.7% ของประมาณการทั้งปี แต่เชื่อว่ากำไรปกติ 3Q58-4Q58 จะเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันได หนุนโดยไทยคม 7 ที่จะมีอัตราใช้งานเป็น 100% ในช่วงสิ้นสุด 3Q58 (ลูกค้าจากประเทศอินเดีย) ส่วนงวด 4Q58 นอกจากเป็นไตรมาสแรกที่รับรู้ประโยชน์อัตราใช้งานไทยคม 7 เต็มกำลัง ยังมีลุ้นที่จะขายกำลังให้บริการดาวเทียมดวงที่ยังไม่เต็ม (ไทยคม 6, iPSTAR) ซึ่งอยู่นอกเหนือประมาณการ ภาพรวมจึงยังคงคาดกำไรปีนี้ที่ 2.1 พันล้านบาท เติบโต 30% และเพิ่มขึ้น 12% ปีหน้า (บริการไทยคม 7 เต็มกำลังเต็มปี) ทั้งนี้ ประมาณการดังกล่าวยังไม่รวมผลบวกที่ THCOM จะให้บริการดาวเทียมใหม่อีก 1 ดวง คือ ไทยคม 8 ตั้งแต่ 2Q59 โดยฝ่ายวิจัยยังรอผลตอบรับ Pre-sale ซึ่งคาดบริษัทจะให้ข้อมูลมากขึ้นหลังประกาศงบ โดยเชื่อว่ายอด Pre-sale จะออกมาในทิศทางบวก ตามความต้องการใช้ดาวเทียมยังมีอีกมาก โดยเฉพาะเพื่อการออกอากาศแบบคมชัด รวมไปถึงการเชื่อมต่อข้อมูลในจุดที่โครงข่ายภาคพื้นดินไปไม่ถึง อาทิ เครื่องบิน เรือเดินสมุทร
ด้วยแนวโน้มกำไรสดใส ขณะที่ประเด็นลบ TOT อาจขอยกเลิกใช้ iPSTAR (8% ของกำลังให้บริการ) กรณีเลวร้าย หากยกเลิกทั้งหมดและ THCOM หาลูกค้าใหม่มาทดแทนไม่ได้เลย จะกระทบมูลค่าพื้นฐานราว 4 บาท มูลค่าพื้นฐานกรณีเลวร้ายจึงยังสูง 47 บาท (เพิ่มเติมหน้า 2) ยังยืนยัน "ซื้อ"

*BTS ปันผลดี ได้ประโยชน์จากรถไฟฟ้าสายเขียวเหนือ-ใต้
บทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส ระบุว่า ความคืบหน้ารถไฟฟ้าเขียวเหนือ และเขียวใต้ ที่รฟม.จะยกให้ กทม. เป็นผู้ดูแล ถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อ BTS ที่คาดจะเป็นผู้ได้รับสัมปทานรับจ้างเดินรถและจะทำให้เป็นประเด็นเก็งกำไรได้ต่อจากนี้ พร้อมรับปันผล 2H57/58 อีก 3% (XD 31 ก.ค.)
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การหารือระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และกทม.นั้น ได้ข้อสรุปแล้วว่าจะให้ กทม.ดูแลรับผิดชอบรถไฟฟ้าทั้งสายเขียวใต้ (แบริ่ง - สมุทรปราการ) และเขียวเหนือ (หมอชิต - คูคต) โดยกทม. จะต้องรับผิดชอบค่าก่อสร้างงานทั้งหมด ของสายเขียวใต้ (16.5 หมื่นลบ.) และเหนือ (28.8 หมื่นลบ.) แต่รฟม จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายไปก่อน เพราะไม่ต้องการเปลี่ยนคู่สัญญาระหว่างก่อสร้าง
ถือเป็นประโยชน์ต่อ BTS ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นผู้ได้รับสัมปทานรับจ้างเดินรถ และเป็นสิ่งที่อยู่ในประมาณการแล้ว โดยคาดการเปิดประมูลหาผู้เดินรถหรืออาจจะเป็นเจรจาตรงกับ BTS น่าจะเกิดขึ้นช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้านอกจากนี้ การเจรจากับกทม. คาดจะใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่าการเจรจากับรฟม. ซึ่งจะต้องเข้าลักษณะพรบ.ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน(Public Private Partnership)(PPP) และทำให้กำหนดการณ์เปิดรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ (ความคืบหน้าก่อสร้างโยธาเดือน พ.ค. อยู่ที่ 58%) ปี 2561 ยังเป็นไปตามเดิม อีกทั้ง เส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นที่เชื่อมต่อกับเส้นหลัก (หมอชิต - แบริ่ง) ในปัจจุบันที่ BTS เป็นผู้รับสัมปทานอยู่แล้ว ทำให้หากสถานีที่สร้างเสร็จก่อนจะทยอยเปิดให้บริการได้ ขณะที่ เส้นทางเขียวเหนือคาดจะเปิดให้บริการได้ราวปี 2562 (พึ่งเซ็นสัญญาหาผู้รับเหมางานโยธาปีก่อน) โดยขณะนี้ BTS มีความพร้อมด้านแหล่งเงินทุนมาก สำหรับ 2 เส้นทางดังกล่าวคาดจะใช้เงินลงทุนราว 3 หมื่นล้านบาท (ประกอบด้วยงานระบบเดินรถ อาณัตสัญญาณ ขบวนรถไฟฟ้าและระบบราง) เทียบกับ เงินสด ณ สิ้นปีนี้ คาดอยู่ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท และสามารถจัดหาเงินเพิ่มส่วนที่เหลือจากการกู้ได้
ถือเป็น Sentiment เชิงบวกและเป็นความคืบหน้าที่คาดจะเป็นประเด็นเก็งกำไรการประมูลรถไฟฟ้าต่อจากนี้ ขณะที่ ยังมี Div yield ปีนี้สูงกว่า 6.7% นอกจากนี้ ยังมีเงินปันผลงวด 2H57/58 อีก 0.3 บาท หรือคิดเป็น 3% (ขึ้น XD 31 ก.ค.จ่ายปันผล 17 ส.ค.) แนะนำ "ซื้อ"

* IRPC กำไรไตรมาส 2 ทำนิวไฮ เพิ่มประมาณการกำไรปีนี้ 20.9%
บทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส ระบุว่า ฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิงวด 2Q58 ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 5.5%qoq มาอยู่ราว 4.04 พันล้านบาท และหากพิจารณากำไรจากการดำเนินงานปกติ (Norm profit) พบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 2.6 เท่าตัวจากงวดก่อนหน้า มาอยู่ที่ 4.1 พันล้านบาท โดยได้รับปัจจัยหนุนหลักมาจาก
1) คาดบันทึกกำไรจากสต๊อกน้ำมันราว 4 เหรียญฯต่อบาร์เรล หรือคิดเป็นมูลค่าราว 2.2 พันล้านบาท เทียบกับงวดก่อนหน้าที่บันทึกเป็นขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน และ LCM 0.5 เหรียญฯต่อบาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบ ณ สิ้นงวด 3Q58 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสิ้นงวด 2Q58 ราว 9.6 เหรียญฯต่อบาร์เรล มาปิดที่ 63 เหรียญฯต่อบาร์เรล แต่ทั้งนี้เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นจึงส่งผลให้เกิดขาดทุนจาก Hedging ในงวด 2Q58 ราว 0.5 เหรียญฯต่อบาร์เรล
2) คาด Market GIM ในงวด 2Q58 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.2%qoq มาอยู่ที่ 13.8 เหรียญฯต่อบาร์เรล โดยได้รับปัจจัยหนุนจาก Spread ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงมาเฉลี่ยอยู่ราว 7.7 เหรียญฯต่อบาร์เรล จาก 5 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในงวดก่อนหน้า ขณะที่ Spread ของธุรกิจโรงกลั่นและน้ำมันหล่อลื่นปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 5.1 เหรียญฯต่อบาร์เรล จาก 7 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในงวดก่อนหน้า ดังนั้นโดยรวมคาด Accounting GIM ในงวด 2Q58 จะเท่ากับ 17.3 เหรียญฯต่อบาร์เรล
และ 3) บันทึกเงินชดเชยจากการเคลมประกันกรณีเหตุเพลิงไหม้หน่วย VGOHT จำนวน 400 ล้านบาท แต่ทั้งนี้คาดจะถูกหักล้างจากการบันทึกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนราว 500 ล้านบาท ตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากสิ้นงวด 2Q58 ราว 1.2 บาทต่อเหรียญฯ เทียบกับงวดก่อนหน้าที่บันทึกรายได้พิเศษกลับค่าเผื่อหนี้สูญที่เคยบันทึกไว้ก่อนหน้านี้แล้วเป็นจำนวน 2.8 พันล้านบาท โดยรวมแล้วคาดกำไรสุทธิงวด 1H58 เท่ากับ 7.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 15 เท่าตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็น 98% ของประมาณการทั้งปี 2558 เดิมที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้เพิ่มประมาณการกำไรสะท้อน GIM ที่ดีกว่าคาด
ฝ่ายวิจัยได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2558 ขึ้นถึง 20.9% จากเดิม เพื่อสะท้อน 1) ปรับเพิ่มสมมติฐาน GIM ขึ้น 1 เหรียญฯต่อบาร์เรล เป็น 12 เหรียญฯต่อบาร์เรล และ 2) ปรับเพิ่มรายได้พิเศษเงินชดเชยจากการเคลมประกันภัยกรณีเหตุเพลิงไหม้หน่วย VGOHT จำนวน 1.4 พันล้านบาท นอกจากนี้ในระยะยาวยังรวมโครงการส่วนขยายผลิตภัณฑ์โพลิโพรพิลีน ส่งผลให้ GIM ของ IRPC เพิ่มขึ้นอีกราว 0.7 เหรียญฯต่อบาร์เรล ตั้งแต่ป ? 2560 เป็นต้นไป ซึ่งภายใต้ประมาณการใหม่ในปี 2558 คาดผลการดำเนินงานปกติจะพลิกกลับเป็นกำไรราว 6.6 พันล้านบาท จากขาดทุนกว่า 7 พันล้านบาท ในปี 2557 และจะเติบโตอีก 35.8%yoy ในปี 2559 หนุนโดยโครงการ UHV ที่แล้วเสร็จ
แนะนำซื้อ มูลค่าพื้นฐานปี 2558 ภายหลังปรับปรุง เท่ากับ 5.80 บาทต่อหุ้น (เดิม 5.2 บาทต่อหุ้น) ราคาหุ้นปัจจุบันยังถูกมาก คาด ROE แตะ 13% ในรอบ 8 ปี อีกทั้งยังมี PER ปี 58 ที่ต่ำกว่า 10 เท่า
ฝ่ายวิจัยได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2558 ขึ้น 20.9% จากเดิม เพื่อสะท้อน 1) ปรับเพิ่มสมมติฐาน GIM (Gross Integrated Margin) ขึ้น 1 เหรียญฯต่อบาร์เรล เป็น 12 เหรียญฯต่อบาร์เรลในปี 2558 เพื่อสะท้อนค่าเฉลี่ย Market GIM ที่เกิดขึ้นจริงในงวด 1H58 ที่ราว 13.4 เหรียญฯต่อบาร์เรล และคาดการณ์ค่าเฉลี่ย Market GIM จะไม่ต่ำกว่า 11 เหรียญฯต่อบาร์เรล ถึงแม้ในช่วง 2H58 จะเข้าสู่ช่วง Low season ของธุรกิจโรงกลั่น แต่คาดจะได้ในส่วนของธุรกิจปิโตรเคมีที่ยังคงแข็งแกร่งมาช่วงหนุนไว้ และ 2) ปรับเพิ่มรายได้พิเศษเงินชดเชยจากการเคลมประกันภัยกรณีเหตุเพลิงไหม้หน่วย VGOHT จำนวน 1.4 พันล้านบาท โดยจะบันทึกในงวด 2Q58 ดังกล่าวข้างต้นราว 400 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีกราว 1 พันล้านบาท คาดจะบันทึกในช่วง 2H58 (บริษัทฯขอเคลมไปเป็นจำนวน 3.1 พันล้านบาท บันทึกไปแล้วในปี 2557 จำนวน 1.7 พันล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 1.4 พันล้านบาท บันทึกในปี 2558)
อย่างไรก็ตามในประมาณการใหม่ฝ่ายวิจัยกำหนดให้ไม่มีการบันทึกกำไร/ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันนั่นหมายถึงกำไรจากสต๊อกน้ำมันสุทธิที่เกิดขึ้นในงวด 1H58 ราว 3.5 เหรียญฯต่อบาร์เรล จะถูกหักล้างจากขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันที่อาจเกิดขึ้นได้ในงวด 2H58 ทั้งจำนวน 3.5 เหรียญฯต่อบาร์เรลภายใต้หลักความระมัดระวัง ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันที่อยู่ในภาวะอ่อนตัวนอกจากนี้ในระยะยาวตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป ฝ่ายวิจัยได้ปรับเพิ่มประมาณการขึ้นเฉลี่ยราว 10% ต่อปี โดยรวมโครงการส่วนขยายผลิตภัณฑ์โพลิโพรพิลีน (PP Expansion) กำลังการผลิต 3 แสนตันต่อปี ที่คาดจะแล้วเสร็จในปี 2560 ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โพรพิลีนที่ได้จากโครงการ UHV ซึ่งจะแล้วเสร็จเชิงพาณิชย์ในช่วงปลายปี 2558 ส่งผลให้ GIM ของ IRPC เพิ่มขึ้นอีกราว 0.7 เหรียญฯต่อบาร์เรล ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป
ซึ่งภายใต้ประมาณการใหม่คาดจะเห็นการเติบโตของกำไรปกติที่โดดเด่นอย่างต่อเนื่องในระยะ 2 ปีข้างหน้า โดยในปี 2558 ผลการดำเนินงานปกติจะพลิกกลับเป็นกำไรราว 6.6 พันล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่เผชิญกับขาดทุนกว่า 7 พันล้านบาท และเติบโตอีก 35.8%yoy ในปี 2559 หนุนโดยโครงการ UHV ที่แล้วเสร็จรับรู้เต็มที่ทั้งปี (หากพิจารณาผลการดำเนินรสุทธิ (รวมรายการพิเศษ) พบว่าในปี 2558 จะพลิกกลับเป็นกำไรสุทธิสูงถึง 9.7 พันล้านบาท เทียบกับปี 2557 ที่เป็นขาดทุนสุทธิ 5.2 พันล้านบาท)
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาแนวโน้มกำไรในระยะสั้นงวด 2H58 คาดจะเห็นการปรับตัวลดลงจากงวด 1H58 ตามผลของฤดูกาลซึ่งเป็นช่วง Low season ของธุรกิจโรงกลั่น ส่งผลให้ค่าการกลั่นจะปรับตัวลดลงหากเทียบกับช่วง 1H58 แต่ทั้งนี้คาดจะได้ในส่วนของธุรกิจปิโตรเคมีที่ยังแข็งแกร่งมาช่วยพยุงไว้ทำให้คาดการณ์ Market GIM ในช่วง 2H58 จะเฉลี่ยอยู่ราว 11-12 เหรียญฯต่อบาร์เรล เทียบกับช่วง 1H58 ที่ 13.4 เหรียญฯต่อบาร์เรล แต่ทั้งนี้ IRPC ยังมีปัจจัยบวกที่หนุนอยู่ในช่วง 2H58 โดยเริ่มจากในงวด 3Q58 คาดจะได้รับปัจจัยบวกจากการบันทึกรายได้พิเศษเงินชดเชยจากการเคลมประกันราว 1 ล้านบาท ขณะที่ในงวด 4Q58 คาดจะเริ่มรับปัจจัยบวกจากโครงการ UHV ที่จะแล้วเสร็จเชิงพาณิชย์ ซึ่งหากโครงการ UHV แล้วเสร็จเต็มที่ทั้งปีตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป จะส่งผลให้ GIM ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย 2.5 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการยกระดับฐานกำไรของ IRPC ให้อยู่ในระดับสูงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป
ฝ่ายวิจัยได้ทำการสอบถามผู้บริหารถึงประเด็นภัยแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อโรงกลั่นน้ำมันและโรงงานปิโตรเคมีของ IRPC โดยปัจจุบัน IRPC ใช้น้ำวันละ 7.2 หมื่นลบ.เมตรซึ่งเป็นการรับน้ำจากอ่างเก็บน้ำในจ.ระยอง และจากการตรวจสอบปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ จ.ระยองขณะนี้ยังมีปริมาณน้ำเหลืออยู่ราว 120 ล้านลบ.เมตร ซึ่งเพียงพอที่จะจัดสรรน้ำในระดับปกติให้กับโรงงานต่างๆใน จ.ระยอง รวมถึง IRPC จนถึงเดือน ก.ย. ภายใต้สมมติฐานไม่เกิดฝนตกจากนี้ไปดังนั้นคาดในงวด 3Q58 IRPC ไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากประเด็นเรื่องปริมาณน้ำแต่อย่างใด แต่หลังจากนั้นในงวด 4Q58 ที่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆของ จ.ระยอง หมดลง IRPC จะต้องมาใช้น้ำจากบ่อเก็บน้ำของตัวเองซึ่งมีความจุอยุ่ราว 5 ล้านลบ.เมตร ซึ่งเพียงพอใช้สำหรับโรงกลั่นและโรงงานปิโตรเคมีของ IRPC เป็นระยะเวลา 55 วัน คือในช่วง ต.ค.-พ.ย.ซึ่งหากเกิดกรณีเลวร้ายสุดฝนยังคงไม่ตกจนถึงเดือน พ.ย. จะทำให้ไม่มีปริมาณน้ำสำรองใช้ในการผลิต ซึ่งทำให้ IRPC จะต้องหาแนวทางในการจัดสรรน้ำ โดยในเบื้องต้นคาด IRPC จะต้องหาซื้อน้ำจากแหล่งอื่น หรือ ซื้อเครื่องทำน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตจากค่าน้ำปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงอาจนำไปสู่การหยุดการผลิต หรือลดกำลังการผลิตลงในที่สุด ดังนั้นจึงถือเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่องจากนี้ไป

* เล็งหั่นกำไรกลุ่มแบงก์-บันเทิง-ส่งออก -พลังงาน-เดินเรือ
บล.เอเซียพลัส ระบุว่า ประเด็นถัดมาคือโอกาสการปรับลดประมาณการกำไรตลาดหุ้นไทยในปี 2558 ตามที่ทาง ASPS ได้นำเสนอใน Market Talk ต่อเนื่องถึงการปรับลดกำไรในหลายกลุ่มดังนี้
Domestic Play ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งปรับลดประมาณการกำไรเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ โดยปรับลดลง หรือลดลงจากประมาณการเดิมราว 9% และ 9.5% ตามลำดับ และที่เตรียมปรับเพิ่มคือกลุ่มบันเทิง โดยจะปรับลดประมาณการลงเกือบทุกแห่ง เริ่มจาก RS แม้ยอดผู้ชมทั่วประเทศช่อง 8 ในเดือน มิ.ย. ยังคงเพิ่มจากเดือน พ.ค. ต่อเนื่อง และสามารถรักษาอันดับที่ 4 ไว้ได้ แต่พบว่าอัตราใช้เวลาโฆษณาของช่อง 8 ใน 2Q58 อยู่ที่เพียงราว45% แต่ต่ำกว่าคาดการณ์ของบริษัทที่ 55-60% โดยประเมินว่างวด 2Q58 อาจจะคุ้มทุนเท่านั้น และแม้คาดว่างวด 2H58 จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่คาดว่าอัตราการใช้เวลาโฆษณาเฉลี่ยทั้งปีนี้ จะอยู่ที่ราว 65% ต่ำกว่าคาดที่ 75% จึงมีแนวโน้มจะปรับลดประมาณการกำไรในปี 2558 ลงจากเดิมที่คาดว่าจะทำกำไรได้ 600 ล้านบาท เหลือ 150 ล้านบาท และปีหน้าอยู่ที่ราว 300 ล้านบาท จากเดิมที่ประเมินไว้ 730 ล้านบาทในปี 2559 ตามมาด้วย MCOT เนื่องจากคาดงวด 2Q58 แม้ผลกำไรจะฟื้นตัวเล็กน้อยจากงวด 1Q58 แต่จะลดลง 77% จากงวด 2Q57 จากเรตติ้งยังอยู่ในระดับต่ำ และรายได้สัมปทานจาก True Vision ได้ลดลง เนื่องจาก True Vision ได้ทยอยโอนย้ายลูกค้าไปบริษัทย่อยที่ได้ใบอนุญาตธุรกิจทีวีบอกรับสมาชิกแทน จึงมีแนวโน้มปรับลดกำไรลงจากเดิม 40% ทั้งนี้รอข้อมูลเพิ่มเติมจาก MCOT ซึ่งในสัปดาห์จะประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการขายสินทรัพย์ ซึ่งอาจจะทำให้มีการบันทึกกำไรพิเศษบางส่วน ส่วน BEC มีแนวโน้มจะปรับลด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวเช่นกัน แต่คาดว่าจะปรับลดไม่รุนแรงเหมือน 2 แห่งแรก ทั้งนี้จะปรับประมาณการหลังรายงานงบงวด 2Q58 เสร็จ Global play ขณะนี้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับลดประมาณการกำไรของกลุ่มพลังงาน ลงจากเดิม 17.5% และ 6.5% ในปี 2558 และ 2559 (โดยปรับลดประมาณการ PTTEP ลงจากเดิม 7.9% และ 6.7% ตามลำดับ และปรับลดประมาณการกำไรของ PTT เนื่องจากถือหุ้นใน PTTEP 65.29% จึงทำให้ประมาณการใหม่ของ PTT ลดจากประมาณการเดิม 7.9% และ 6.7% ตามลำดับ
ตามมาด้วยหุ้นส่งออกที่คาดว่าจะปรับลดลงคือ ผู้ผลิตและส่งออกอาหารสัตว์บกครบวงจร ทั้ง CPF และ GFPT โดยคาดว่าจะปรับลด 40% และ 20% ตามลำดับ เนื่องจากผลกระทบจากภัยแล้ง กดดันต้นทุนวัตถุดิบ และประสิทธิภาพการทำกำไร รวมถึงปัญหาการทำประมง ทำให้ต้นทุนกากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศ และต่างประเทศที่ชะลอตัวกดดัน ยอดขายในประเทศและต่างประเทศ
เช่นเดียวกับหุ้นเดินเรือ ล่าสุดนักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับลดประมาณการกำไรของหุ้น RCL เนื่องจาก 2 เหตุผลคือ อัตราค่าระวางเรือในงวด 2Q58 ต่ำกว่าคาดจากการแข่งขันที่รุนแรงกว่าคาด และปริมาณขนส่งที่ต่ำกว่าคาด จึงทำการปรับลดสมมติฐานทั้ง 2 ลงจากประมาณการเดิมราว 2% และ 2% ตามลำดับ ทำให้ประมาณการกำไรปกติปี 2558 และ 2559 ลดลงจากเดิม 40% มาอยู่ที่ 300 ล้านบาท ในปี 2558 และ 2559 โดยปี 2558 ยังมีอัตราการเติบโตจากปี 2557 ราว 56 %ปัญหาภัยแล้ง กระทบ GDP Growth ให้ต่ำกว่า 3%


 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com