April 19, 2024   10:24:57 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > PTT ควง RATCH บุกพลังงานอาเซียน
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 25/06/2015 @ 08:28:46
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ปตท. เซ็นเอ็มโอยูกับ "ราชบุรีโฮลดิ้งส์" 3 ฉบับ ศึกษาลงทุนโครงการพลังงานในอาเซียน ประเดิมสร้างคลัง LNG ในเมียนมาร์ มูลค่า 400 ล้านเหรียญ รวมถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินในเมียนมาร์- อินโดนีเซีย -เวียดนาม ด้าน"สุรงค์ บูลกุล" หวังความร่วมมือนี้หนุนกำลังผลิตไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท. เพิ่มอีก 1000 MW ใน 5 ปีข้างหน้า ส่วน RATCH เล็งถือหุ้นทุกโครงการ 25-50% แย้มกำไรปีนี้ทะลุเป้า เหตุเริ่มรับรู้โรงไฟฟ้าหงสา 400-500 ลบ. จ่อเซ็นสัญญาโรงไฟฟ้าถ่านหินมะริดกับรัฐบาลเมียนมาร์ 1-2 เดือนนี้

*** เซ็น MOU 3 ฉบับ ศึกษาลงทุนโครงการพลังงานในอาเซียน
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้น และก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า กลุ่มปตท. ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจจำนวน 3 ฉบับ กับ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ประกอบด้วย
ฉบับที่ 1 เป็นการบันทึกความเข้าใจหน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท. เพื่อศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการ LNG Receiving Terminal ในสาธาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมาร์ รวมถึงโอกาสในการหาแหล่งก๊าซธรรมชาติให้กับโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ
ฉบับที่ 2 เป็นบันทึกความเข้าใจระหว่างระหว่างบริษัท พีทีที เอนเนอร์ยี่ รีซอร์สเซส จำกัด กับ RATCH เพื่อศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ในการลงทุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในเมียนมาร์
ฉบับที่ 3 เป็นบันทึกความเข้าใจระหว่าง บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC และ RATCH เพื่อศึกษาโอกาสความเป็นได้ในการร่วมทุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และโครงการโรงไฟฟ้าและสาธารณูปการในตอนกลางของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานกรรมการบริหาร GPSC และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน PTT เปิดเผยว่า ในฐานะแกนนำหลักในการดำเนินธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปโภคของกลุ่มปตท. บริษัทฯ มีความตั้งใจในการนำพลังงานไฟฟ้าไทยไปสู่เวทีนานาชาติ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในอาเซียนและสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้าให้กับประเทศที่ยังต้องการใช้ไฟฟ้าอีกมาก เช่น สาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยที่ผ่านมาได้เข้าศึกษาความเป็นไปได้ของโรงไฟฟ้าในเมียนมาร์หลายโครงการ ซึ่งนอกเหนือจากการเข้าไปศึกษาเองแล้ว ยังมีกลยุทธ์ในการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ อย่าง RATCH ที่จะร่วมกันมองหาโอกาสในการขยายตลาดเข้าไปในต่างประเทศ โดยการเซ็น MOU ครั้งนี้นับเป็นก้าวแรกของแนวทางดังกล่าว
ด้านนายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ RATCH เปิดเผยว่า บริษัทฯ มุ่งเน้นที่จะขยายการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียนเป็นหลัก โดยมีการเติบโตร่วมกับพันธมิตรธุรกิจเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ ความร่วมมือกลุ่มปตท.ครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จเบื้องต้นรวมถึงยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทขององค์กรธุรกิจไทยขนาดใหญ่ที่เป็นต้นแบบในการผนึกกำลังกันเป็นทีมไทยแลนด์ที่ร่วมกันแข่งขันกับผู้เล่นรายใหญ่ในต่างประเทศ การมีพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เช่นกลุ่มปตท. ทำให้เชื่อว่าบริษัทฯจะสามารถขับเคลื่อนและเสริมสร้างการเติบโตทั้งองค์กรและประเทศชาติ?
? ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากที่ปตท. ประกอบด้วย บริษัท ปตท. บริษัท พีทีที เอนเนอร์ยี่ รีซอร์สเซส จำกัด และ GPSC ได้ลงนามกับ RATCH เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองรับความต้องการใช้พลังงานของประเทศ เสริมสร้างศักยภาพความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคต และสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจต่างประเทศด้วยกัน ??ทั้งนี้ความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นก้าวสำคัญที่ภาคเอกชนไทยที่มีความสามารถเฉพาะด้านเพื่อรองรับอนาคตของประเทศ เพื่อศึกษาโครงการด้านพลังงานที่สำคัญ และเป็นทิศทางพลังงานในอนาคตที่จำเป็นของไทยทั้งก๊าซธรรมชาติเหลว ถ่านหิน

*** PTT คาดหนุนกำลังผลิตไฟฟ้า GPSC เพิ่มขึ้นอีก 1,000 MW
นายสุรงค์ เปิดเผยว่า การลงนามร่วมมือลงทุนด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของกลุ่มปตท. และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH จะช่วยผลักดันให้บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกมากกว่า 1,000 เมกะวัตต์ภายใน 5 ปี จากสิ้นปีนี้ที่จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 1,355 เมกะวัตต์
เป้าหมายหลักคือ การเข้าลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศเมียนมาร์ อินโดนีเซีย ซึ่งยังมีความต้องการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก ส่วนลักษณะการลงทุนนั้นจะขึ้นอยู่ในแต่ละโครงการ ว่าจะต้องตั้งบริษัทร่วมทุนหรือไม่ โดยขณะนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงยังไม่สามารถให้รายละเอียดได้ แต่จะเริ่มเห็นความชัดเจนเกี่ยวกับโครงการลงทุนต่างๆ ระหว่างทั้งสองกลุ่มบริษัทภายในปีนี้
" เดิม GPSC ตั้งเป้าจะเพิ่มกำลังการผลิตอีก 1,000 เมกะวัตต์ภายใน 5 ปี แต่หลังจากเซ็น MOU กับ RATCH จะทำให้กำลังการผลิตในอีก 5 ปีมากกว่าเป้าหมายดังกล่าวแน่นอน เพราะความร่วมมือนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพสำหรับการเข้าลงทุนโครงการใดๆก็ตามในภูมิภาคอาเซียน"นายสุรงค์ กล่าว

*** RATCH คาดเบื้องต้นร่วมทุน ปตท. 25-30% สร้างคลัง LNG ในเมียนมาร์
นายพงษ์ดิษฐ เปิดเผยว่า จากการการลงนามบันทึกความเข้าใจความเข้าใจ (MOU) กับกลุ่ม ปตท.จำนวน 3 ฉบับ ดังกล่าวโครงการที่คาดว่าจะเกิดได้เร็วสุดคือ การร่วมลงทุนโครงการ LNG Receiving Terminal ที่ประเทศเมียนมาร์ โดยจะมีกำลังการผลิต 3 ล้านตัน มูลค่าลงทุน 400 ล้านเหรียญ ซึ่ง RATCH ถือหุ้นในสัดส่วน 25-30% ที่เหลือกลุ่มปตท.จะเป็นผู้จัดสรร ซึ่งจะมีพันธมิตรที่พม่าถือหุ้นด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอรัฐบาลพม่าอนุมัติการก่อสร้าง หลังจากนั้นจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปี และในอนาคตมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตเป็น 7 ล้านตัน จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านเหรียญ
?ส่วนโครงการที่ 2 คือ ร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินเชียงตุงที่เมียนมาร์ ขนาด 600 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุนรวม 1,300 ล้านเหรียญ ซึ่งขณะนี้ได้มีการเซ็น MOA แล้ว อยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) คาดใช้เวลาประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มก่อสร้างได้ โดยโครงการนี้มีอายุสัญญา 30 ปี ซึ่ง RATCH ถือหุ้นสัดส่วน 50% กลุ่มปตท.ถือหุ้น 40% โดยโครงการนี้จะมีการขายไฟที่พม่าประมาณ 50-100 เมกะวัตต์ ที่เหลือขายให้กับรัฐบาลไทย
ส่วนแผนการร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าที่เวียดนามขนาด 500 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุน 800-1,000 ล้านเหรียญ RATCH คาดว่าจะเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 30% ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะใช้ก๊าซหรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง และขึ้นอยู่กับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมของเวียดนาม ว่าจะทำได้รวดเร็วแค่ไหน??ขณะที่แผนการร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อินโดนีเซียนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ " บริษัทฯ จะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในการพัฒนาโครงการทางด้านพลังงานกับกลุ่ม ปตท. เป็นแต่ละโครงการ หลังจากที่บริษัทฯได้ ทำบันทึกความเข้าใจจำนวน 3 ฉบับดังกล่าว ซึ่งโครงการที่จะเกิดได้เร็วที่สุด คือบันทึก MOU ฉบับที่ 1 ในการลงทุนคลัง LNG ที่พม่า และโรงไฟฟ้าถ่านหินเชียงตุงที่พม่าเช่นกัน นอกจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเชียงตุงแล้ว โครงการนี้จะมีการลงทุนทำเหมืองถ่านหินด้วย ซึ่งมีปริมาณสำรองถ่านหิน 100-120 เมกะวัตต์ ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยมูลค่าในการลงทุนเหมืองถ่านหินได้เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณา ขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหินเชียงตุงจะใช้เงินลงทุนรวม 1,300 ล้านเหรียญ" นายพงษ์ดิษฐ กล่าว

*** RATCH แย้มกำไรปีนี้ทะลุเป้า จ่อเซ็นสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินมะริดกับรัฐบลเมียนมาร์ใน 1-2 เดือนนี้
นายพงษ์ดิษฐ กล่าวต่อว่า คาดว่ากำไรสุทธิปี 2558 ของ RATCH จะสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 5.2 พันล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ จะรับรู้กำไรสุทธิจากโรงไฟฟ้าหงสาที่เดินเครื่องผลิตแล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย.58 สำหรับเฟสแรก และเฟส 2 จะเดินเครื่องในวันที่ 1 พ.ย.58 โดยปีนี้รับรู้กำไรจากโรงไฟฟ้าหงสาประมาณ 400-500 ล้านบาท
นอกจากนี้ คาดว่าจะมีการเซ็นสัญญาพัฒนา (MOA) โรงไฟฟ้าถ่านหินมะริดกับรัฐบาลเมียนมาร์ ได้ภายใน 1-2 เดือนนี้ กำลังการผลิต 2,640 เมกะวัตต์ เม็ดเงินลงทุนรวม 4,800 ล้านเหรียญ โดย RATCH ถือหุ้นในสัดส่วน 45%
นายพงษ์ดิษฐ กล่าวด้วยว่า ในเดือน ก.ค.นี้ จะได้ข้อสรุปการร่วมลงทุนกับนักลงทุนไต้หวัน เพื่อพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) ที่ประเทศญี่ปุ่น ขนาด 70-100 เมกะวัตต์ โดย RATCH จะถือหุ้นในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 60%
บริษัทฯ มีแผนจะยื่นประมูลโรงไฟฟ้า Sumsel 5 ขนาด 300 เมกะวัตต์ เม็ดเงินลงทุน 500 ล้านเหรียญ โดยโรงไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะได้ข้อสรุปเมื่อไหร่
ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงเป้าหมายที่จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาในปี 2566 ที่ 9,700 เมกะวัตต์ จากขณะนี้มีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและโรงไฟฟ้าที่พัฒนาเสร็จแล้วมีกำลังการผลิตรวม 6,200 เมกะวัตต์


 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com