April 26, 2024   4:41:02 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > KBANK หั่นดอกเบี้ยกู้ชาติ
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 21/05/2015 @ 08:27:27
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ธนาคารกสิกรไทย นำร่องแบงก์ใหญ่ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.13-0.25% มีผลวันนี้ รับไม้ต่อนโยบายการเงินของแบงก์ชาติ "บัณฑูร" ออกโรงชี้ไม่ใช่เวลาจะมาขัดแย้งกัน ควรเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง หาจุดสมดุลย์ให้เจอ แม้ยอมรับลดดอกเบี้ยยังไม่สามารถกู้เศรษฐกิจได้ทันที แต่กระทบรายได้-ราคาหุ้นให้ปรับลดลงทันที ด้าน KTB ยันไม่ปรับลงตาม เหตุ NIMต่ำเตี้ยสุดในระบบแล้ว ขณะที่โบรกฯ เตรียมเคาะตัวเลขกำไร ราคาเป้าหมาย KBANK ใหม่ พร้อมมองราคาหุ้นกลุ่มธนาคารมีแนวโน้มอ่อนแอกว่าตลาด ขณะที่ราคาหุ้นกสิกรปิดแดนลบ


*** KBANK นำร่องแบงก์ใหญ่หั่นดอกกู้ 0.13-0.25% มีผลพรุ่งนี้

นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)หรือ KBANK เปิดเผยว่า ธนาคารฯ จะนำร่องลดดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท ส่วนเงินฝากขอดูสถานการณ์ก่อน โดยจะลด MLR เหลือ 6.50% หรือลดลง 0.13%(เดิม 6.63%),MOR 7.37% หรือลดลง 0.13%(เดิม 7.50%) และ MRR7.87%หรือลดลง 0.25%(เดิม 8.12%) มีผลพรุ่งนี้ทันที (21 พ.ค.58)
นายบัณฑูร กล่าวว่า การที่ KBANK ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง เพื่อให้ความร่วมือกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)และสอดคล้องกับการปรับลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ที่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายรอบล่าสุดลงจาก 1.75% เป็น 1.50% ซึ่งนอกจากจะเป็นการให้ความร่วมมือกับ ธปท.แล้ว ยังถือว่าได้ทำเพื่อส่วนรวมด้วย หลังจากที่ผู้ว่าการ ธปท.ได้สอบถามมาหลายครั้ง แม้โดยส่วนตัวจะมองว่าหลังจาก กนง.ปรับลดดอกเบี้ยลงจะยังไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนักก็ตาม
"หลังจากที่ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติทวงถามเรามาหลายครั้งแล้วว่าทำไม กนง.ลดดอกเบี้ยแล้ว ธนาคารพาณิชย์ก็ยังไม่ให้ความร่วมมือในการลดดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยนโยบายบ้าง ซึ่งผมก็มองว่าแม้จะลดดอกเบี้ยนโยบายก็ยังไม่ใช่วิธีการที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้อย่างรวดเร็ว มาตรการมหภาคทั้งการคลังและการเงินต่างก็ต้องใช้เวลาสักระยะ กว่ามันจะได้ผลขึ้นมา ก็อยากให้ ธปท.คิดถึงธนาคารพาณิชย์บ้าง อยากให้ร่วมกันช่วยกันแก้ปัญหา ช่วยกันหาจุดสมดุล ไม่ก็ถอยกันคนก้าว ไม่ใช่มาจี้แล้วเกิดความขัดแย้งกันแบบนี้"นายบัณฑูร กล่าว
ทั้งนี้ ยอมรับว่าการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงนั้น จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของธนาคารให้ปรับลดลง รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับราคาหุ้น แต่ถือเป็นเรื่องปกติ

*** คาดกระทบกำไรตั้งแต่ไตรมาส 2/58 เป็นต้นไป
ด้านนายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ KBANK เปิดเผยว่า กำไรในไตรมาส 2/58 ของ KBANK จะลดลง หลังธนาคารนำร่องลดดอกเบี้ยกู้ลงเป็นรายแรก โดยธนาคารจะพยายามบริหารจัดการลดต้นทุนให้ลดลงมากที่สุด ส่วนการพิจารณาลดดอกเบี้ยฝากจะต้องดูตลาด และ สภาพคล่องต่อไป??
ขณะที่ ธนาคารได้ปรับเป้าสินเชื่อลงจาก 8-9% เป็น 6% โดยสินเชื่อรายใหญ่เหลือ 3-5% จากเดิม 4-6 % รายย่อยเหลือ 5-7% จากเดิม 8-9% และสินเชื่อเอสเอ็มอีเหลือ 6-8% จากเดิม 7.7% หลังเศรษฐกิจไม่เติบโตอย่างที่คาด??พร้อมกับปรับเพิ่มกรอบ NPL จาก 2-2.4% เป็น 2.3-2.5% โดยหลังจากไตรมาส 1/58 สัญญาณ NPL ขยับเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อเอสเอ็มอี และ รายย่อย ส่งผลให้ธนาคารต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้น ในไตรมาส 2/58

*** KTB ยันไม่ลดดอกเบี้ยเงินกู้ ชี้ NIMต่ำสุดแล้วในระบบ

นายวรภัค ธันยาวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)หรือ KTBเปิดเผยกับ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย"ว่า ธนาคารฯ จะยังไม่ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ในขณะนี้ แม้ล่าสุด ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)ประกาศนำร่องลดดอกเบี้ยเงินกู้ไปก่อน เนื่องจากปัจจุบันส่วนอัตราดอกเบี้ย (NIM)ของ KTB ถือว่าต่ำที่สุดในระบบแล้ว

*** วงการเตรียมหั่นคาดการณ์กำไร และ NIM

นักวิเคราะห์จาก บล.ทรีนีตี้ เปิดเผยกับ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์"ว่า คาดว่าหลังการประกาศปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ของ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)หรือ KBANK มีผลวันพรุ่งนี้ จะกระทบกับกำไรของธนาคารในปีนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้จะทำให้อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย หรือ NIM ปรับลดลง ซึ่งเดิม บล.ทรีนีตี้ คาดว่า NIM ของธนาคารในปีนี้จะอยู่ที่ 3.64% แต่เร็วๆ นี้อาจจะต้องมาทบทวนใหม่ คาดว่าจะปรับลงจากระดับดังกล่าว และต่อเนื่องไปยังกำไรทั้งปีที่จะลดลงไม่มากนักจากประมาณการเดิม และกระทบราคาเป้าหมายด้วยเล็กน้อย??
"NIM เราคาดว่าจะปรับลงอีก จากเดิมคาด NIM ทั้งปีที่ 3.64% และเมื่อเราปรับลด NIM นั่นหมายความว่าการเติบโตของกำไรคงกระทบด้วย และจะกระทบกับราคาเป้าหมายด้วย แต่คงไม่มาก และเราคงต้องมาติดตามต่อไปว่ากำไรจะเป็นอย่างไร เพราะในช่วงที่เหลือของปีไม่รู้ว่าทิศทางของดอกเบี้ยจะลงอีกไหม"นักวิเคราะห์ ระบุ??
ทั้งนี้ ผลกระทบต่อกำไรของ KBANK จากการลดดอกเบี้ยเงินกู้ จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาส 3/58 เนื่องจากไตรมาส 2/58 อาจจะเห็นผลกระทบต่อกำไรเพียงแค่เดือนเศษเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ NIM ลดลงเรื่อยๆ ไตรมาสต่อไตรมาส จากไตรมาส 1/58 ที่ธนาคารมี NIM อยู่ที่ 3.66% ขณะที่ขาเงินฝาก ธนาคารกสิกรไทยยังไม่ได้ปรับลดลง ซึ่งในส่วนของเงินฝากถือว่าเป็นต้นทุนด้ายรายจ่ายดอกเบี้ยของธนาคาร และแม้ว่า จะปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากลง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ดอกเบี้ยเงินฝากจะใช้เวลานานกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ กว่าที่จะส่งผ่านไปในระบบได้ เพราะเงินฝากมีระยะเวลา เช่น ฝากประจำ 3 6 12 เดือน เป็นต้น
ในขณะที่เงินกู้ซึ่งเป็นด้านรายรับดอกเบี้ยของธนาคารเห็นผลในทันที ในแง่ของรายรับจากดอกเบี้ย ที่ลดลง เพราะส่วนใหญ่เป็นดอกเบี้ยลอยตัว ทั้ง ดอกเบี้ยMLR(อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี),MOR(อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี) และ MRR(อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี )และเชื่อว่า ธนาคารขนาดใหญ่อย่าง BBL KTB และ SCB น่าจะปรับลงตาม เพราะที่ผ่านมาจะเห็นเกาะกลุ่มไปด้วยกันในทุกครั้งที่มีการปรับขึ้นหรือลงของดอกเบี้ยในระบบแบงก์พาณิชย์
นักวิเคราะห์ บล.ไอร่า เปิดเผยกับ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย"ว่า บริษัทอยู่ระหว่างทบทวนประมาณการราคาเป้าหมายของ KBANK จากเดิม 243 บาท อาจต้องปรับลงอีก และกำไรจากเดิมคาด 5 หมื่นล้านบาท อาจปรับลงเหลือ 4.5 หมื่นล้านบาท เพราะการลดดอกเบี้ยกระทบ NIM ของธนาคาร ซึ่งจะเห็นผลกระทบตั้งแต่ไตรมาส 2/58 เป็นต้นไป
และเชื่อว่าในที่สุดแล้ว ธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นก็น่าจะปรับลดลงตามธนาคารกสิกรไทย
ด้าน บล.เอเซียพลัส ได้ปรับลดคาดการณ์กำไรของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ลง 5 แห่ง โดยปรับลดลง 4.4% และ 5.3% ในปี 2558 และ 2559 ได้แก ่ BBL (-5.5%, -4.8%), KBANK (-6.5%, -10.8%), KTB (-6.8%, -6.8%), SCB (-2.7%, -2.6%) และ TMB (-4.5%, -4.2%)


*** มองราคาหุ้นกลุ่มแบงก์ มีแนวโน้มอ่อนแอกว่าตลาด
บทวิเคราะห์ บล.ธนชาต มองว่า การที่ธนาคารพาณิชย์ เริ่มปรับลดดอกเบี้ย จะกดดัน NIM ในไตรมาส 2/58 การประกาศลดดอกเบี้ยลงของธนาคารขนาดใหญ่อย่าง KBANK จะเริ่มปรับลดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.125% ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป คาดว่าธนาคารขนาดใหญ่อื่นๆ จะทยอยปรับลดดอกเบี้ยลงตาม ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ย นโยบาย ของ ธปท.ถึง 2 ครั้งตั้งแต่ เดือน มี.ค.เป็นต้นมา จะเป็นปัจจัยกดดัน NIM กลุ่มธนาคารในช่วงไตรมาส 2/58 ทำให้ราคาหุ้นยังมีแนวโน้ม อ่อนแอกว่าตลาดต่อไปในทางตรงกันข้าม การปรับลดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นกลุ่ม MICRO Finance ที่ผลการดำเนินงาน ไตรมาส 1/58 ออกมาดี อย่าง SAWADรวมไปถึงหุ้นกลุ่มอสังหาฯ ที่เริ่มเปิดโครงการใหม่ๆ และได้รับผลตอบรับดี อย่าง SIRI (แนวต้าน 1.91 บาท)
ด้านนักวิเคราะห์กลุ่มธนาคารของ บล.ภัทร ได้ปรับลดมูลค่าเหมาะสมของ KBANKจาก 202 บาทเหลือ 189 บาท สะท้อนการปรับลดประมาณการกำไร 6-7% ในปี 58-60 เนื่องจากการลดสมมุติฐานการเติบโตของสินเชื่อ (Loan growth)เหลือ 3.8% (อนุรักษ์นิยมกว่าเป้าหมายของ KBANK ที่ 6%),สำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นเป็น 1.05%,NIM ลดลงเหลือ 3.53% โดย บล.ภัทร มองว่า โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้มีสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม SME ที่พึ่งพาการส่งออกมาก สะท้อนจากอัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity utilization) ฟื้นตัวได้ช้ากว่า กลุ่มที่พึ่งพาการส่งออกน้อย อย่างมีนัย

*** ราคา KBANK ปิดแดนลบ วอลุ่มอันดับ 2
ด้านความเคลื่อนไหว ราคาหุ้น KBANK วานนี้ปิดที่ 201 บาท ลดลง 7 บาท หรือ 3.37% มูลค่าการซื้อขาย สูงสุดอันดับ 2 ที่ 2.33 พันล้านบาท ระหว่างวันปรับขึ้นไปสูงสุด 209 บาท ต่ำสุด 201 บาท



 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com