March 28, 2024   7:28:50 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > SCC เทิร์นอะราวด์กำไรพุ่ง27%
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 20/01/2015 @ 08:35:37
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

โบรกเกอร์ คาด "ปูนใหญ่" โชว์กำไร Q4/57 ลดลงมาอยู่ที่ 7.5-7.9 พันล้านบาท เหตุขาดทุนจากสต็อกน้ำมันกว่า 2.5-2.8 พันล้านบาท แต่กำไรจะฟื้นตัวอย่างโดดเด่นในปีนี้แตะ 4.1 หมื่นล้านบาท โตขึ้น 23-27% เหตุอุปสงค์ปูนซีเมนต์-ส่วนต่างปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น แถมมีบุ๊คกำไรพิเศษจากการขายเงินลงทุนใน Micheline จำนวน 1.6 พันล้านบาท ขณะที่โรงปูนแห่งใหม่ในกัมพูชา-อินโดฯเริ่มเปิดดำเนินการ แนะนำซื้อลงทุนยาว ด้านผู้บริหารตั้งงบลงทุน 5 ปี 2.5 แสนล้านบาท เดินหน้าซื้อกิจการอาเซียนต่อเนื่อง เล็งตั้ง "รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส"ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี

*** กูรูคาด Q4/57 มีกำไร 7.5-7.9 พันลบ.
บทวิเคราะห์บล.เคจีไอ ระบุว่า คาดกำไรสุทธิของ SCC ในไตรมาสที่ 4/57 จะอยู่ที่ 7.9 พันล้านบาท โดยได้แรงหนุนจากผลประกอบการที่ดีขึ้นของธุรกิจเคมีภัณฑ์ จากการที่ SCC เป็นผู้ผลิตที่ใช้วัตถุดิบจาก naphtha เป็นหลัก จึงน่าจะทำให้บริษัทได้ประโยชน์จากการที่ต้นทุน feed stock ต่ำในช่วงที่ราคาน้ำมันร่วงแรง ขณะที่คาดจะมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันประมาณ 2.5 พันล้านบาทในไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา สำหรับส่วนต่างราคาเคมีภัณฑ์นั้น ยังยืนได้ดีที่ US$797/ton และ US$636/ton ในส่วนของ PE/Naphtha และ PP/Naphthaเทียบกับ US$600/ton และ US$605/ton ในไตรมาสที่ 4/56 ซึ่งจะช่วงหนุนให้ EBITDA Margin ของธุรกิจเคมีภัณฑ์ขยับเพิ่มขึ้นเป็น 9.5% ในไตรมาสที่ 4/57 จาก 8.9% ในไตรมาสที่ 3/14
สำหรับธุรกิจหลักอื่นๆนั้นคาดว่าอุปสงค์ปูนซีเมนต์จะหดตัวลงเล็กน้อยในขณะที่ราคาปูนซีเมนต์น่าจะทรงตัว ซึ่งจะส่งผลให้ EBITDA margin ของธุรกิจปูนซีเมนต์ลดลงเป็น 13.6% จาก 14.4% ในไตรมาสที่ 4/56 ส่วนธุรกิจกระดาษ น่าจะมี EBITDA margin ในระดับต่ำที่ 14.1% จาก 13.4% ในไตรมาสที่ 4/56 เนื่องจากเป็นช่วง low season
บทวิเคราะห์บล.ทรีนิตี้ คาดผลการดำเนินงานปกติช่วง Q4/57 ของ SCC ดีขึ้น แต่ขาดทุนสต๊อกวัตถุดิบ โดยคาดผลการดำเนินงานปกติ 4Q57 อยู่ที่ 9,983 ล้านบาท +27% qoq, +22% yoy และคาดว่าจะมีการขาดทุนจากสต๊อกวัตถุดิบประมาณ 2,500 ล้านบาท ทำให้กำไรสุทธิอยู่ที่ 7,483 ล้านบาท -5% qoq, -9% yoy เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงอย่างมากในไตรมาสที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดีส่วนต่างราคา HDPE-Naphtha ยังอยู่ในระดับ 800$/ton เพิ่มขึ้นประมาณ 100$ จากไตรมาสก่อน ในส่วนของปูนซีเมนต์ลดลงจากไตรมาสก่อนเป็นผลของฤดูกาล
ด้านบทวิเคราะห์บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ระบุว่า SCC จะประกาศผลประกอบการ 4Q57 ในวันที่ 28 ม.ค. นี้ โดยประเมินว่าจะมีกำไรที่ชะลอตัวลงเหลือ 7,746 ล้านบาท (-1%QoQ, -6%YoY) แบ่งเป็น 1.) ธุรกิจปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์หลัก HDPE และ PP มีสเปรดเพิ่มขึ้นถึง 100 เหรียญ/ตัน ในขณะที่ปริมาณขายยังดี เนื่องจากในไตรมาสสามลูกค้าเก็บสต็อกน้อย ซึ่งจะทำให้กำไรดีขึ้นประมาณ 1.4 พันล้านบาท แต่ในไตรมาสนี้ราคาผลิตภัณฑ์ทรุดหนัก ทั้งวัตถุดิบ Naphtha (-29%QoQ, -31%YoY) และ ราคาผลิตภัณฑ์ HDPE (-10%QoQ, -6%YoY), PP (-10%QoQ, -5%YoY) คาดจะมีผลขาดทุนสต็อกประมาณ 2,800 ล้านบาท ซึ่งไม่มากนักเพราะสต็อกเพียง 10วัน
รวมแล้วเราประเมินธุรกิจปิโตรฯจะมีกำไรเหลือ 2,807 ล้านบาท (-33%QoQ, +26%YoY) 2.) ธุรกิจปูนซีเมนต์-วัสดุก่อสร้าง ความต้องการปูนซีเมนต์ในไตรมาสนี้จะอ่อนตัวลงจากปีก่อนเล็กน้อย 2%YoY ส่วนผลิตภัณฑ์ก่อสร้างถูกกระทบจากตลาดต่างจังหวัด คาดจะทำให้กำไรชะลอตัวลงเหลือ 2,849 ล้านบาท (-7%QoQ, -13%YoY) 3.) ธุรกิจกระดาษ คาดจะถูกกระทบจากภาวะชะลอตัวของความต้องการ ทำให้กำไรจะอ่อนตัวลงเหลือ 670 ล้านบาท (-6%QoQ, +59%YoY) โดยในไตรมาสนี้ประเมินจะมีเงินปันผลจากค่ายรถยนต์ประมาณ 1,500 ล้านบาท (-25%YoY) เข้ามาช่วยหนุน

*** ปี 58 กำไรฟื้นตัวแตะ 4.1 หมื่นลบ. โต 27%
บทวิเคราะห์บล.เคจีไอ ระบุว่า ผลการดำเนินงานของ SCC จะกลับมาเติบโตโดดเด่นในปี 2558 และคาดว่ากำไรสุทธิของ SCC ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาสที่ 3/57 แนวโน้มปี 2558 ยังคงแข็งแกร่งจากส่วนต่างราคาเคมีภัณฑ์ที่ค่อยๆ ขยับเพิ่มขึ้น และการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ มีแนวโน้มสูงที่ราคาน้ำมันน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับต่ำประมาณ US$60/barrel ในปีนี้ ซึ่งที่ราคาน้ำมันระดับนี้ cracker ที่ใช้ก๊าซเป็นหลัก เกิดความลังเลที่จะเริ่มสร้างโรงงานใหม่ ส่งผลให้อุปทานใหม่เลื่อนเวลาในการเข้ามาสู่ตลาดในช่วงห้าปีข้างหน้าออกไป โดยคาดว่าส่วนต่างราคาเคมีภัณฑ์น่าจะเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งอย่างน้อย US$50/ตัน ในปี 2558 ในขณะเดียวกัน ก็คาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศในครึ่งหลังของปีนี้ จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐและการลงทุนอย่างต่อเนื่องจากภาคเอกชน ดังนั้น อุปสงค์ปูนซีเมนต์ในปีนี้จึงน่าจะโตได้ตามเป้าหมายของเราที่ 5.0-7.0%กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์และวัสดุก่อสร้างที่เติบโตดีจะช่วยหนุนกำไรปี 2558
ทั้งนี้ เชื่อว่าผลการลงทุนใน ASEAN ในปีนี้จะเริ่มออกดอกออกผล โดยโรงปูนขนาด 0.9 ล้านตันในกัมพูชาเริ่มเปิดดำเนินการในไตรมาสที่ 2/58 และโรงปูนขนาด 1.8 ล้านตันในอินโดนีเซียเริ่มเปิดดำเนินการในไตรมาสที่ 3/58 ก็น่าจะช่วยหนุนให้กำไรของ SCC มีแนวโน้มแข็งแกร่งตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป ในขณะเดียวกัน การฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศก็น่าจะช่วยหนุนให้อุปสงค์ของทั้งธุรกิจปูนซีเมนต์และกระดาษกลับเข้าสู่ระดับปกติ และคาดว่ายอดขายในปี 2558 จะโตได้อย่างแข็งแกร่งถึง 9.3% YoY เป็น 5.4 แสนล้านบาท นอกจากนี้ EBITDA margin ปีนี้ มีแนวโน้มปรับขึ้นเป็น 14.6% จาก 12.7% ในปี 2557 โดยได้แรงหนุนจาก i) ส่วนต่างราคาเคมีภัณฑ์ที่แข็งแกร่งจากการที่อุปสงค์ค่อยๆ ฟื้นตัวและอุปทานในตลาดที่อาจออกมาช้ากว่าที่คาด และ ii) อัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูงของธุรกิจปูนซีเมนต์และกระดาษ ดังนั้นคาดกำไรสุทธิของ SCC ในปี 2558 จะเพิ่มขึ้น 23.0% YoY เป็น 4.02 หมื่นล้านบาท
ด้าน บล.ทรีนิตี้ มองว่าในปี 58 นี้จะเป็นปีที่เห็นผลการดำเนินงานที่ก้าวกระโดดของบริษัท เนื่องจาก 1) ราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลง 2) แนวโน้มการบริโภคปูนซีเมนต์น่าจะมีการเติบโต 5-10% 3) คาดธุรกิจ Building Material ฟื้น 2H58 4) การเปิดโรงปูนแห่งใหม่ที่กัมพูชาและอินโดนิเซีย มีกำลังการผลิตที่ 1 ล้านตัน และ 1.8 ล้านตันตามลำดับ นอกจากนี้บริษัทจะมีการบันทึกกำไรพิเศษจากการขายเงินลงทุนในบริษัทสยามมิชลินกรุ๊ปประมาณ 1,600 ล้านบาท ยังมุ่งเน้นลงทุนผลิตภัณฑ์ HVA และขยายธุรกิจผ่าน M&A ยึดที่มั่นฐานอาเซียนเพิ่มความแข็งแกร่ง ดังนั้นจึงแนะนำซื้อลงทุนระยะยาว ที่ราคาเป้าหมายใหม่ปี 58 ที่ 535 บาท อิง P/BV 3 เท่า
บทวิเคราะห์บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ระบุว่า สำหรับแนวโน้มปี 2558 คาดจะเติบโตโดดเด่น ธุรกิจปิโตรเคมีจะเป็นธุรกิจสำคัญที่ผลักดันผลประกอบการปี 2558 โดยสเปรดเฉลี่ย PE-Naphtha ในปี 2558 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 100 เหรียญ/ตัน สู่ระดับ 770 เหรียญ/ตัน หรือ ช่วยเพิ่มกำไรประมาณ 5.8 พันล้านบาท เนื่องจากต้นทุน Naphtha จะอยู่ในระดับต่ำ ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ในขณะที่ชัพพลายของ Ethylene ใหม่คาดจะเพิ่มขึ้นเพียง 3% ทำให้ราคา HDPE และ PE ไม่ปรับลดลตามราคา Naphtha
ธุรกิจปูนซิเมนต์ คาดจะกลับมาโต 6% แรงหนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล วัสดุก่อสร้างคาดจะฟื้นตัว และ กระดาษจะดีขึ้น จากผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากกำลังการผลิตปูนซิเมนต์ใหม่ที่ อินโดนีเซีย (3Q58) และ กัมพูชา (2Q58) เข้ามาเสริม รวมถึงกำไรจากการขายเงินลงทุนใน Micheline 1.6 พันล้านบาท ทำให้คาดกำไรรวมปี 2558 จะเท่ากับ 41,322 ล้านบาท เติบโตถึง 27% YoY จึงคงแนะนำ ซื้อ ในลักษณะลงทุน เป้าหมายปี 2558 เท่ากับ 530 บาท บนฐาน Average P/E + 1SD เท่ากับ 15.5 เท่า

*** ผู้บริหารตั้งงบลงทุน 5 ปี 2.5 แสนลบ.
บทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.)บัวหลวง เปิดเผยว่า ในงาน SCG Dinner Talk 2558 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี นายเชาวลิต เอกบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ด้านการเงินและการลงทุน และนายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ มาเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่นักลงทุน โดยข้อมูลที่ได้จากผู้บริหารช่วยยืนยันมุมมองของเราว่าขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะเข้าซื้อหุ้น SCC เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ด้วยราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2558 ที่ 540 บาท
ผู้บริหารกล่าวว่า SCC ตั้งงบลงทุนสำหรับปี 2558-2562 ไว้ที่ 250,000 ล้านบาท ซึ่งรวมงบสำหรับการเข้าซื้อกิจการไว้แล้ว ผู้บริหารกล่าวว่าบริษัทมีโอกาสอีกมากที่จะเข้าซื้อกิจการในแถบอาเซียน และขณะนี้กำลังมีการเจรจาอยู่ นอกจากนี้บริษัทเตรียมตั้ง นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เอเปอร์ ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี และกำลังรออนุมัติจากคณะกรรมการ กลยุทธ์ของบริษัทอาจเปลี่ยนไปบ้างหลังซีอีโอคนใหม่เข้าดำรงตำแหน่ง แต่เป้าหมายการดำเนินงานธุรกิจหลัก ซึ่งได้แก่การขยายไปยังอาเซียนและสร้างพอร์ต HVA จะยังคงเป็นเช่นเดิม
นอกจากนี้ ผู้บริหารยังคาดว่า อุปสงค์ซีเมนต์กลับมาเติบโต YoY ตั้งแต่เดือนธ.ค.และคาดจะเติบโต 6% ในปี 2558 หนุนโดยงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอาคารพาณิชย์ บริษัทไม่ได้กังวลมากนักต่อความเสี่ยงที่ราคาจะลดลงแม้ว่า TPIPL จะขยายกำลังการผลิต โดยบริษัทมองว่าราคาจะลดลงเพียงเล็กน้อยและในระยะสั้นๆ อุปสงค์ที่เติบโตในช่วงปี 2558-2559 น่าจะกลบอุปทานใหม่ที่เพิ่มขึ้นได้ทั้งหมด นอกจากนี้มีแนวโน้มว่า TPIPL จะส่งออกผลผลิตใหม่ที่ออกมาไปยังต่างประเทศ เนื่องจากราคาส่งออกที่ค่อนข้างดีอัตราส่วนกำไรธุรกิจซีเมนต์ลดลงเล็กน้อยในช่วงโรงงานใหม่เริ่มดำเนินการผลิต
อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีอาจถูกกดดันจากค่าเสื่อมราคาของโรงงานซีเมนต์ใหม่ในประเทศกัมพูชา (ไตรมาส 2/58) และอินโดนีเซีย (ไตรมาส 3/58) แต่ผลกระทบจะเกิดขี้นเพียงระยะสั้นเนื่องจากบริษัทคาดว่าจะเพิ่มอัตราการผลิตได้เต็มอัตราภายในเพียง 6-7 เดือนนับจากวันเริ่มดำเนินการผลิตมีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อธุรกิจปิโตรเคมี ส่วนต่างราคาที่มากขึ้นโดยเฉพาะส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ (HDPE-เอทิลีน และ PP-โพรพิลีน) รวมถึงปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น (อันเป็นผลจากการระบายสินค้าคงคลัง) คาดจะสามารถช่วยลดผลกระทบจากการขาดทุนสินค้าคงคลังซึ่งเกิดจากราคาผลิตภัณฑ์แนฟทาและโอเลฟินส์ที่ปรับตัวลงมากได้อย่างดี แนวโน้มระยะยาวดูสดใส โดยวัฎจักรขาขึ้นของโอเลฟินส์มีแนวโน้มจะยาวไปจนถึงปี 2561 เนื่องจากอุปทานใหม่มีแนวโน้มจะล่าช้า ผู้บริหารเชื่อว่าขาขึ้นรอบนี้จะเป็น super-cycle ของโอเลฟินส์

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com