April 20, 2024   12:09:07 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ส่อปะทุอีกระลอก”
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 15/12/2014 @ 08:21:20
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

สรุปจากวานนี้ วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ช่วงปี 2550-2551 เกิดขึ้นจากการที่คนในสหรัฐอเมริกาจำนวนมากไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ต่อสถาบันการเงิน จนทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรง โดยที่ปัญหาดังกล่าวได้ลุกลามต่อเนื่องไปสู่ทวีปยุโรป เพราะดันไปซื้อหนี้เน่าจำนวนมหาศาลมาจากสหรัฐฯ ซึ่งในตอนสุดท้าย ประเทศในเอเชียก็พลอยโดนผลกระทบอย่างหนักหน่วงไปกับคนอื่นเขาด้วย ในฐานะที่เป็นผู้ขายสินค้ารายใหญ่ให้ทั้งสหรัฐฯ และยุโรป

ในปัจจุบัน หนึ่งกระแสที่ทำให้ทั่วโลกต่างต้องตกอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกคือ ความกังวลต่อราคาน้ำมันที่กำลังดิ่งเหวลงทุกวันๆ เพราะถือเป็นผลกระทบอย่างหนักต่อรายได้ของผู้ประกอบธุรกิจผลิตเชลออยล์ในสหรัฐฯ ซึ่งมีการระดมทุนผ่าน “สินเชื่อสถาบันการเงิน” และ “หุ้นกู้ผลตอบแทนสูง” (High-Yield Bond) หรือที่มีชื่อเล่นว่า “หุ้นกู้ขยะ” (Junk Bond) จำนวนมหาศาล


เพราะฉะนั้น หลายคนจึงวิตกว่าธุรกิจน้ำมันในสหรัฐฯจะดำเนินไปไม่ได้ตลอดรอดฝั่ง เนื่องจากราคาน้ำมันในปัจจุบันร่วงลงมาหลุดจุดคุ้มทุนของผู้ผลิตส่วนใหญ่แล้ว และหากสถานการณ์ยังคงดำเนินอย่างนี้ต่อไปอีกซักระยะเวลา ธุรกิจเชลออยล์จะต้องหยุดการผลิตลง ซึ่งนั่นหมายความว่า สถาบันการเงิน และนักลงทุนทั่วไปจะหนีไม่พ้นการเผชิญหน้ากับความเสี่ยงจากการผิดชำระหนี้โดยบริษัทต่างๆ (Default Risk) และยังรวมไปถึงดอกเบี้ยอีกด้วย


ทั้งนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่งผลให้ผู้ผลิตเชลออยล์ต่างถือโอกาสกู้เงินผ่านสถาบันการเงิน และออกหุ้นกู้ต่อสาธารณะ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านกำลังการผลิตที่ก้าวกระโดดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

ขณะที่ฝั่งผู้ให้กู้ ทั้งสถาบันการเงิน และนักลงทุนต่างเล็งเห็นแต่ความสำเร็จอันงดงามของการผลิตเชลออยล์ โดยนึกไปไม่ถึงว่าจะโดนกลุ่มโอเปคสกัดดาวรุ่งด้วยการไล่ทุบราคาน้ำมันให้ลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจุดคุ้มทุนของสหรัฐฯ ซึ่งด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้มีการปล่อยสินเชื่อ และซื้อหุ้นกู้ที่มีมูลค่ามหาศาลจากผู้ผลิตรายต่างๆ อีกทั้งนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคิดว่า การซื้อหุ้นกู้ขยะจากบริษัทน้ำมันจะให้ผลตอบแทนแก่พวกเขามากกว่าการนำเงินไปแช่ไว้ในธนาคาร ในช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยยังต่ำอยู่ โดยในปัจจุบันหุ้นกู้ขยะที่ออกโดยผู้ผลิตน้ำมันมีจำนวนมากถึง 30% ของจำนวนหุ้นกู้ประเภทนี้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดเจนว่าเกือบทุกอย่างกำลังเดินไปในทิศทางเดียวกันกับสถานการณ์ในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2550 แตกต่างกันแค่ตรงผู้เล่นและตัวแปรหลัก ซึ่งในปัจจุบันคือ บริษัทน้ำมัน และราคาน้ำมัน ขณะที่ในอดีตคือ ลูกค้าสถาบันการเงิน และราคาอสังหาริมทรัพย์ สำหรับด้านอารมณ์ความรู้สึกของคนแตกต่างกัน คือ ต้องการจะได้ผลตอบแทนสูงกว่าปกติจากการให้ผู้กู้ที่มีคุณสมบัติต่ำกว่าเกณฑ์ยืมเงิน ซึ่งในที่สุดแล้วถ้ายังไม่มีการลดกำลังการผลิตลงเพื่อให้ราคาดีดกลับมาอยู่ในระดับที่ผู้ผลิตจากสหรัฐฯจะสามารถสร้างกำไรได้ดี หนี้สินไม่มากก็น้อยก่อนจะกลายสภาพเป็นหนี้เน่า และสร้างความเสียหายต่อสถาบันการเงินและผู้ลงทุน


 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com